A Hybrid Differential Evolution for the Blood Routing Problems: A Case Study of Hospital Cluster in Songkhla Province

Authors

  • Kunanon Intapan Department of Industrial and Manufacturing Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University
  • Wanatchapong Kongkaew Department of Industrial and Manufacturing Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University
  • Sakesun Suthummanon Department of Industrial and Manufacturing Engineering, Faculty of Engineering, Prince of Songkla University
  • Supattra Mitundee Chief of the 12th Regional Blood Centre, Songkhla
  • Siriphat Saranobphakhun Head of Blood preparation unit of the12th Regional Blood Centre, Songkhla

Keywords:

differential evolution, local Search, blood routing problem

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดส่งโลหิตสำหรับภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการกระจายโลหิตให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้ตอนล่าง การจัดส่งโลหิตของภาคบริการโลหิตฯ แห่งนี้เป็นรูปแบบปัญหาการจัดรถขนส่งที่อยู่ภายใต้ความแน่นอนของอุปสงค์ที่มีเงื่อนไขด้านความสามารถในการบรรทุกของรถ งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างร่วมกับการค้นหาคำตอบแบบเฉพาะที่แบบใหม่ (DE+NLS) เพื่อจัดเส้นทางขนส่งโลหิตให้มีระยะทางรวมในการขนส่งน้อยที่สุด ในการทดสอบประสิทธิภาพของอัลกอริทึม จะทดสอบด้วยข้อมูลการจัดส่งโลหิตในกลุ่มโรงพยาบาลในจังหวัดสงขลาในสถานการณ์ขนส่งแบบปกติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 30 วัน และเปรียบเทียบคำตอบที่ได้จากวิธี DE+NLS กับวิธีการจัดเส้นทางแบบเดิม วิธีวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างแบบดั้งเดิม (DE) และวิธีการจำลองการอบเหนียว (SA) จากการทดลองพบว่า วิธี DE+NLS ให้ผลรวมระยะทางที่น้อยกว่าวิธีการแบบเดิม วิธี DE และวิธี SA ซึ่งวิธี DE+NLS ให้ระยะทางรวมลดลงเป็น 4,017.38 กิโลเมตร (จากระบบเดิม 10,804.20 กิโลเมตร) นอกจากนี้ผลการทดสอบทางสถิติจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า วิธี DE+NLS เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและให้คำตอบที่ดีกว่าวิธี DE และวิธี SA อย่างมีนัยสำคัญ ในด้านเวลาที่ใช้ค้นหาคำตอบพบว่า วิธี DE+NLS ใช้เวลาน้อยกว่าวิธี SA อย่างไรก็ดี วิธี DE+NLS ยังคงใช้เวลามากกว่าวิธี DE เล็กน้อย เนื่องด้วยการค้นหาคำตอบที่ดีกว่าด้วยการค้นหาแบบเฉพาะที่ นอกจากนี้ วิธี DE+NLS สามารถลดต้นทุนการจัดส่งได้มากที่สุด ซึ่งสามารถลดต้นทุนได้เท่ากับ 17,463.54 บาท คิดเป็นร้อยละลดลง 62.81% จากวิธีการแบบเดิม ดังนั้น วิธี DE+NLS จึงเป็นวิธีการที่ได้รับการออกแบบที่ดีและมีประสิทธิภาพสำหรับปัญหาที่กำหนด

References

วิจัย บุญญานุสิทธิ์, “การพัฒนาตัวแบบการจัดสรรโลหิตสำหรับภาคบริการโลหิตแห่งชาติ ในประเทศไทย,” วิทยานิพนธ์ วส.ด. (สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2559.

คณน สุจารี และสิริชัย จิรวงศ์นุสรณ์, “การแก้ปัญหาการจัดส่งเลือดด้วยวิธีไฮบริดการค้นหาแบบนกกาเหว่า,” วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, ปีที่ 8, ฉบับที่ 2, หน้า 206-226, พฤษภาคม-สิงหาคม 2561.

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย, “สูจิบัตร ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 12 จังหวัดสงขลา,” วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559.

T. Iswari, V. F. Yu, A. M. S. Asih, “Simulated Annealing for the blood pickup routing problem,” International Journal of Information and Management Sciences, vol. 27, pp. 317-327, 2016.

M. A. H. Akhand, H. P. Zahrul, T. Sultana, and AI-Mahmud. “Solving capacitated vehicle routing problem with route optimization using intelligence,” Proceedings of the 2nd International Conference on Electrical Information and Communication Technologies, EICT, Khulna, Bangladesh, December 10-12, 2015, pp. 112-117.

Nannapat Taweeugsornpun and Morrakot Raweewan, “การจัดเส้นทางขนส่งผลิตภัณฑ์เลือด,” วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 9, ฉบับ Supplementary, หน้า 230 -243, ธันวาคม 2560.

ณัตพร ไชยเสนา, “การจัดเส้นทางการขนส่งด้วยวิธีการเมตาฮิวริสติกส์: กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการขนส่ง,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, ปีที่ 4, ฉบับที่ 2, หน้า 64-76, มิถุนายน-กันยายน 2561.

ระพีพันธ์ ปิตาคะโส, “วิธีการเมตาฮิวริสติกเพื่อการแก้ไขปัญหาการวางแผนการผลิตและการจัดการโลจิสติกส์,” พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2554, หน้า 7-12.

ระพีพันธ์ ปิตาคะโส, “วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่าง : สำหรับแก้ไขปัญหาการขนส่งโลจิสติกส์,” อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2559.

วนัฐฌพงษ์ คงแก้ว และศิวศิษย์ วิทยศิลป์, “การวิจัยดำเนินงาน : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้,” สงขลา: ไอคิว มีเดีย, 2564, หน้า 399-410.

กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ และระพีพันธ์ ปิตาคะโส, “การประยุกต์ใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างในการจัดสมดุลสายงานการประกอบแบบ เส้นตรงประเภทที่ 1 : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป,” วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, ปีที่ 1, ฉบับที่ 2, หน้า 39-50, กรกฎาคม-ธันวาคม 2556.

วนัฐฌพงษ์ คงแก้ว และศิวศิษย์ วิทยศิลป์, “ขั้นตอนวิธีหิ่งห้อยแบบผสมผสานเพื่อลดต้นทุนรวมจากงานที่เสร็จก่อนและงานที่เสร็จล่าช้าให้น้อยที่สุด ในการจัดตารางการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป,” วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, ปีที่ 9, ฉบับที่ 1, หน้า 79-91, มกราคม-มิถุนายน 2564.

M. Georgioudakis and V. Plevris, “A comparative study of differential evolution variants in constrained structural optimization,” Frontiers in Built Environment, vol. 6, article 102, July 2020.

Downloads

Published

2022-06-18

How to Cite

[1]
K. . Intapan, W. Kongkaew, S. Suthummanon, S. Mitundee, and S. Saranobphakhun, “A Hybrid Differential Evolution for the Blood Routing Problems: A Case Study of Hospital Cluster in Songkhla Province”, TJOR, vol. 10, no. 1, pp. 179–192, Jun. 2022.