การประยุกต์ใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างในการจัดสมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1 : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป

Authors

  • กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ระพีพันธ์ ปิตาคะโส รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Keywords:

สมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1, วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่าง

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาจำนวนสถานีงานที่น้อยที่สุด สำหรับปัญหาการจัดสมดุลสายงานการประกอบเย็บของเสื้อแขนสั้นรุ่น 518729 ของโรงงานกรณีศึกษา โดยศึกษาและประยุกต์ใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างสำหรับแก้ปัญหา โดยมีการพิจารณาประเภทเครื่องจักรเป็นเงื่อนไขประกอบในการจัดสมดุลสายงานการประกอบเย็บ และทำการเปรียบเทียบผลกับสายการงานการประกอบเย็บของเสื้อแขนสั้นรุ่น.518729 ปัจจุบันของโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งวิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างจะทำหน้าที่ในการสร้างเวคเตอร์เริ่มต้นด้วยการสุ่มจากจำนวนจริงและปรับปรุงคำตอบด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนค่าในพิกัด  วิธีการแลกเปลี่ยนพิกัด และการคัดเลือก จากผลการทดลองประยุกต์ใช้สูตรในขั้นตอนการปรับเปลี่ยนค่าในพิกัดทั้ง 3 สูตร พบว่าวิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างโดยการประยุกต์ใช้สูตรที่ 1 สามารถลดจำนวนสถานีงานได้จากสายงานการประกอบเย็บปัจจุบันจาก 23 สถานี เป็น 17 สถานี มีประสิทธิภาพของสายงานการประกอบเย็บเสื้อแขนสั้นรุ่น 518729 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 56 เปอร์เซ็นต์ และใช้เวลาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว

Downloads

Published

2014-06-29

How to Cite

[1]
จิรศิริเลิศ ก. and ปิตาคะโส ร., “การประยุกต์ใช้วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้ผลต่างในการจัดสมดุลสายงานการประกอบแบบเส้นตรงประเภทที่ 1 : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป”, TJOR, vol. 1, no. 2, pp. 39–50, Jun. 2014.

Issue

Section

Research Paper (3 ผู้ประเมิน ตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการ)