วิธีแก้ปัญหาการเลือกเตาเผาขยะติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย

Authors

  • อนุชา ศรีบุรัมย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์ 62/1 ถนนเกษตรสมบูรณ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
  • สมบัติ สินธุเชาวน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Keywords:

ตำแหน่งที่ตั้ง, เตาเผาขยะติดเชื้อ, โรงพยาบาลชุมชน

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการเลือกขนาดและตำแหน่งที่ตั้งของเตาเผาขยะติดเชื้อ สำหรับโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบไปด้วยจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และ เลย จำนวนทั้งหมด 107 แห่ง  มาสร้างเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีฟังก์ชันวัตถุประสงค์เพื่อเลือกขนาดและตำแหน่งที่ตั้งของเตาเผาขยะติดเชื้อ โดยให้มีต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วยต้นทุนการขนส่ง และค่าดำเนินการ ความจุของเตาเผาขยะติดเชื้อที่พิจารณามี 3 ขนาด คือ ความจุตั้งแต่ 400  800 และ1,200 กิโลกรัม/เตา/วัน และค่าดำเนินการตั้งแต่ 3,569 4,579 และ 5,543 บาท/วัน ตามลำดับ จากการหาคำตอบด้วยโปรแกรม Lingo พบว่าผลคำตอบที่ดีที่สุดมีต้นทุนรวมต่ำสุดเท่ากับ 29,821 บาท/วัน โดยมีการเลือกที่ตั้งของเตาเผาขยะติดเชื้อ 3 ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งแรกอยู่ที่โรงพยาบาลเชียงยืนเลือกเตาเผาขยะติดเชื้อที่มีความจุ 800 กิโลกรัม/เตา/วัน ตำแหน่งที่สอง คือโรงพยาบาลสว่างแดนดิน โดยมีเตาเผาขนาดความจุ 800 กิโลกรัม/เตา/วัน และตำแหน่งสุดท้ายที่โรงพยาบาลเอราวัณ เลือกเตาเผาขนาดความจุ 400 กิโลกรัม/เตา/วัน ตามลำดับ

Downloads

Published

2013-12-30

How to Cite

[1]
ศรีบุรัมย์ อ. and สินธุเชาวน์ ส., “วิธีแก้ปัญหาการเลือกเตาเผาขยะติดเชื้อสำหรับโรงพยาบาลชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย”, TJOR, vol. 1, no. 2, pp. 51–59, Dec. 2013.