การปรับปรุงสายการผลิต Frame Sub Assembly Seat Support: กรณีศึกษา บริษัท ไทยซัมมิท โกลด์ เพรส จำกัด

Authors

  • วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
  • นงนภัส ปรากฏวงศ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
  • ชนัญญา วงษ์สายเชื้อ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
  • ประภาพร อินทร์จันทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
  • รัชชานนท์ สิงห์แสง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขที่ 1 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520

Keywords:

แบบจำลองสถานการณ์ วิเคราะห์ความสูญเปล่า แผนภาพสายธารแห่งคุณค่า กระบวนการเชื่อม

Abstract

บริษัท ไทยซัมมิท โกลด์ เพรส จำกัด เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนของรถมอเตอร์ไชต์และชิ้นส่วนด้านการเกษตรพบว่าปัจจุบันสายการผลิต Frame Sub Assembly Seat Support  ประสบปัญหาจากผลิตสินค้าได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าในเวลาทำงานปกติทำให้ต้องมีการทำงานล่วงเวลาส่งผลให้บริษัทมีต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำงานและวิเคราะห์ความสูญเปล่าในสายการผลิตเพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงสายการผลิต Frame Sub Assembly Seat Support โดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลเวลาทำงานและขั้นตอนการทำงานในกระบวนการเชื่อม จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสูญเปล่าโดยสร้างแผนภาพสายธารแห่งคุณค่า (VSM) จำลองระบบการผลิตด้วยโปรแกรม Arena และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการเชื่อม 5 แนวทาง ได้แก่ Scenario 1: ปรับแนวเชื่อม Scenario 2: เพิ่ม
ROBOT 2 ในกระบวนเชื่อม Scenario 3: เพิ่มสถานีงาน 1 สถานีงาน Scenario 4:  เพิ่ม ROBOT 2 ในกระบวนเชื่อม และเพิ่มสถานีงาน และ Scenario 5: เพิ่ม ROBOT ในกระบวนเชื่อมด้วย ROBOT 1 และ ROBOT 2 ผลลัพธ์จากการประมวลผลพบว่า Scenario 4 และ Scenario 5 สามารถผลิตชิ้นงานออกมากที่สุดคือ 277 ชิ้น/วัน แต่เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยรวมในระยะเวลา 5 ปีพบว่า Scenario 5 มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด

Downloads

Published

2016-12-27

How to Cite

[1]
อัตธีรวงศ์ ว., ปรากฏวงศ์ น., วงษ์สายเชื้อ ช., อินทร์จันทร์ ป., and สิงห์แสง ร., “การปรับปรุงสายการผลิต Frame Sub Assembly Seat Support: กรณีศึกษา บริษัท ไทยซัมมิท โกลด์ เพรส จำกัด”, TJOR, vol. 4, no. 2, pp. 1–9, Dec. 2016.

Issue

Section

Research Paper (3 ผู้ประเมิน ตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการ)