ตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อแบบพลวัตเมื่อระยะเวลานำไม่แน่นอน: กรณีศึกษาถ่านหินอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
Keywords:
ตัวแบบปริมาณการสั่งซื้อแบบพลวัต ปริมาณสินค้าเพื่อความปลอดภัย สินค้าคงคลังที่เหมาะสมที่สุดAbstract
งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิเคราะห์หาจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมกรณีศึกษาการสั่งซื้อถ่านหินสำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของบริษัทแห่งหนึ่ง โดยเลือกใช้วิธีการหาคำตอบด้วยตัวแบบการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมด้วยวิธีแบบพลวัต (Dynamic Lot Sizing Model) เนื่องจากราคาซื้อขายของถ่านหินนั้นไม่คงที่ จากการวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังพบว่าข้อมูลมีลักษณะแบบมีแนวโน้มลดลง จึงได้ทำการพยากรณ์ราคาถ่านหินด้วยวิธีการของ Holt การขนส่งถ่านหินประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ การขนส่งทางเรือ Supramax การขนส่งโดยเรือ lighter และการขนส่งทางรถบรรทุก ซึ่งการขนส่งทุกรูปแบบใช้เวลาไม่แน่นอน จึงต้องกำหนดนโยบายการควบคุมสินค้าคงคลังแบบจุดสั่งซื้อหรือ Reorder point และ
สต๊อกเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) โดยกำหนดระดับการให้บริการอยู่ที่ 99.99% ส่งผลให้ปริมาณสต๊อกเพื่อความปลอดภัยเท่ากับ 50,009.83 ตัน และมีจุดสั่งซื้ออยู่ที่ 111,693.18 ตัน จากการศึกษาพบว่าการหาจุดสั่งซื้อและปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมด้วยตัวแบบการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมด้วยวิธีแบบพลวัตนั้นสามารถทำให้ลดต้นทุนรวมของค่าใช้จ่ายได้ 372,852,309.64 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 22.01% ของค่าใช้จ่ายรวมเดิมในปี 2558