การกำหนดตำแหน่งฐานปล่อยรถบรรทุกโดยพิจารณาปริมาณสินค้าที่บรรทุก ทั้งเที่ยวไปและกลับ กรณีศึกษาผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์

Authors

  • สุรพงศ์ พงศ์ดำรงศักดา ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
  • สุนาริน จันทะ ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี

Keywords:

ปัญหาการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งสถานที่ การหาค่าที่เหมาะสม การขนส่งสินค้าเที่ยวกลับ

Abstract

งานวิจัยนี้นำเสนอการกำหนดฐานการปล่อยรถบรรทุกที่เหมาะสมให้กับบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งมีการขนส่งสินค้าทั้งเที่ยวไป (linehaul) และเที่ยวกลับ (backhaul) โดยอาศัยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จากปัญหาที่ฐานปล่อยรถปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากตำแหน่งของลูกค้า ทางบริษัทกรณีศึกษาจึงต้องการหาตำแหน่งในการสร้างฐานปล่อยรถใหม่อีกแห่ง เพื่อลดระยะทางในการขนส่งทั้งหมด โดยมีทางเลือก 2 แห่ง ได้แก่ สระบุรี และชัยภูมิ  ผู้วิจัยทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เส้นทางการขนส่งรวมที่มีต้นทุนรวมต่ำที่สุด ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร โดยมีเงื่อนไขที่จะต้องจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าเที่ยวไปและจากนั้นจะต้องรับสินค้าใหม่กลับมายังจุดปล่อยรถในการขนส่งเที่ยวกลับ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กรณี ได้แก่  1) กรณียอมให้เปิดฐานปล่อยรถได้ทั้ง 2 ฐานที่สระบุรีและชัยภูมิ  2) กรณีเลือกฐานสระบุรีฐานเดียว  3) กรณีเลือกฐานชัยภูมิฐานเดียว

ทำการค้นหาคำตอบด้วยโปรแกรมการหาค่าที่เหมาะสม (OPL 12.4) พบว่า ในกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน คือ ควรสร้างฐานปล่อยรถแห่งใหม่ที่ฐานสระบุรีเพียงแห่งเดียว โดยต้นทุนการขนส่งรวมเท่ากับ 14,525,948 บาท เมื่อเทียบกับต้นทุนปัจจุบันที่ใช้ฐานปล่อยรถแห่งเดียวสามารถลดต้นทุนได้เท่ากับ 1,997,084 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 12.45%  ในกรณีที่ 3 เมื่อจัดเส้นทางการขนส่งโดยปล่อยรถที่ฐานชัยภูมิอย่างเดียว มีต้นทุนการขนส่งรวมเท่ากับ 14,756,471 บาท โดยสามารถลดต้นทุนได้เท่ากับ 1,836,561 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 11.06% เมื่อเทียบกับต้นทุนปัจจุบัน ดังนั้น ทางบริษัทควรสร้างฐานปล่อยรถแห่งใหม่ที่สระบุรี เนื่องจากสามารถลดลดต้นทุนการขนส่งรวมได้มากที่สุดหากเปิดใช้ฐานแห่งนี้

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

[1]
พงศ์ดำรงศักดา ส. and จันทะ ส., “การกำหนดตำแหน่งฐานปล่อยรถบรรทุกโดยพิจารณาปริมาณสินค้าที่บรรทุก ทั้งเที่ยวไปและกลับ กรณีศึกษาผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์”, TJOR, vol. 5, no. 1, pp. 26–35, Jun. 2017.