การพัฒนาแบบจำลองสโตแคสติกเพื่อประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย

Authors

  • ปารียา ศิริวัฒนพันธ์ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • สราวุธ จันทร์สุวรรณ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน, โซ่อุปทานเกษตร, มันสำปะหลัง, ตัวแบบสโตแคสติก

Abstract

ภาครัฐและภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสินค้าเกษตรของประเทศไทยมากขึ้นซึ่งการมีเครือข่ายโลจิสติกส์ภาคการเกษตรที่มีประสิทธิภาพจะทำให้มีการส่งมอบสินค้าที่ดีขึ้นโดยต้องมีการสนับสนุนบทบาทของเกษตรกรและผู้ประกอบการภาคการเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำทั้งนี้ในการบริหารจัดการได้มีการกำหนดตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่สำคัญ 3 มิติ คือ ต้นทุน (Cost) เวลา (Lead Time) และความน่าเชื่อถือ (Reliability) อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดที่สำคัญอีกมิติหนึ่ง คือ ความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน (Supply Chain Flexibility)  ที่จะแสดงถึงความสามารถที่ระบบสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาและนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐที่กระทบต่อโซ่อุปทานสินค้าเกษตรนั้นยังไม่มีการศึกษาในลักษณะเชิงปริมาณ บทความนี้จึงได้ทำการศึกษาและพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อใช้วัดความยืดหยุ่นของโซ่อุปทาน ซึ่งการศึกษาได้ประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ซึ่งถือเป็นผลผลิตส่งออกที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้ในการพัฒนาตัวแบบพิจารณาตั้งแต่ส่วนการเพาะปลูก การแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลัง และการขนส่งเพื่อการส่งออก โดยใช้หลักการของตัวแบบสโตแคสติกมาพัฒนาตัวแบบ ในการประเมินความยืดหยุ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ขั้น โดยขั้นที่ 1 เป็นตัวแบบเพื่อประเมินความสามารถพื้นฐานของโซ่อุปทานที่ทำให้มีผลกำไรสูงที่สุด และขั้นที่ 2 เป็นตัวแบบเพื่อประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานที่สามารถเพิ่มขึ้นได้สูงที่สุดจากความสามารถพื้นฐานที่ได้จากตัวแบบขั้นที่ 1 ซึ่งจะทำให้ทราบถึงความสามารถสำรอง (Reserve Capacity) ของ
โซ่อุปทาน ทั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการ ตลอดจนช่วยระบุส่วนที่อาจจะกลายเป็นคอขวดของโซ่อุปทาน ให้มีการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุปทานและ
อุปสงค์ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

[1]
ศิริวัฒนพันธ์ ป. and จันทร์สุวรรณ ส., “การพัฒนาแบบจำลองสโตแคสติกเพื่อประเมินความยืดหยุ่นของโซ่อุปทานสินค้าเกษตร กรณีศึกษา มันสำปะหลังในประเทศไทย”, TJOR, vol. 5, no. 1, pp. 71–84, Jun. 2017.

Issue

Section

Research Paper (3 ผู้ประเมิน ตามเกณฑ์การขอตำแหน่งวิชาการ)