การควบคุมคุณภาพด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อลดต้นทุนใน โรงงานอุตสาหกรรมเซรามิก
คำสำคัญ:
การควบคุมคุณภาพ, วิธีการทางสถิติ, อุตสาหกรรมเซรามิกบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมเซรามิก โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จากการศึกษาพบปัญหาในกระบวนการผลิต เกิดผลิตภัณฑ์เซรามิกเสีย และมีตำหนิ ในอัตราที่สูง เกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การวิจัยจึงมุ่งศึกษาวิธีการควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิตสินค้าเซรามิกโดยอาศัยหลักเกณฑ์ของการควบคุมคุณภาพด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อแก้ไข ปรับปรุงกระบวนการผลิตและลดปริมาณของเสียหรือมีตำหนิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ใบตรวจสอบบันทึกข้อมูลการผลิตและของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสําคัญของปัญหาด้วยแผนภูมิพาเรโต และใช้แผนผังก้างปลาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น จัดทําแผนการปรับปรุง ทดลอง ใช้แผนภูมิควบคุมชนิดพีควบคุมอัตราของเสียที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงงานมีปัจจัยมาจาก คน เครื่องจักร วัตถุดิบ วิธีการ และสภาพแวดล้อมการทํางาน ที่ทำให้เกิดความผิดพลาดต่าง ๆ จนเป็น สาเหตุที่เกิดของเสียขึ้นภายในกระบวนการผลิต ก่อนการปรับปรุงกระบวนการพบข้อมูลของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตจํานวน 3,928 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 10.33 มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการอยู่ที่ 90 เมื่อนําวิธีการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติเข้ามาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ พบว่าของเสียที่เกิดจากการผลิตลดเหลือ 1,910 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 5.03 ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการอยู่ที่ 95 จากผลการปรับปรุงแก้ไขโดยใช้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ แสดงให้เห็นว่าความสามารถของกระบวนการที่จะผลิตงานมีมากขึ้นและมีอัตราของเสียที่ที่เกิดจากกระบวนการผลิตลดลงได้จริง
References
กิตติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2553). การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) ประมวลผลด้วย MINITAB 15. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปางระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570). ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2566 จาก: file:///C:/Users/Admin/Downloads/Documents/9369e3adcb 99c04032ca9e21bb175d2c.pdf.
เธียรไชย จิตต์แจ้ง. (2530). การบริหารการผลิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2543). การจัดองค์การอุตสาหกรรมและการผลิต. กรุงเทพมหานคร : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏพระนคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ปวีณา นิ่งนาน. (2553). แนวทางการลดของเสียในกระบวนการขึ้นรูปชิ้นงาน กรณีศึกษา : โรงงานผลิตโคมไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วิชัย แหวนเพชร. (2543). มนุษยสัมพันธ์ในการบริหารอุตสาหกรรม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมกมล.
ศุภชัย นาทะพันธ์. (2551). การควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2554). การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติและวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สุภาพ แก้วมณี. (2552). การลดของเสียในกระบวนการผลิตพาเลทไม้ กรณีศึกษา บริษัท เอกอุดรเทรดดิ้ง จำกัด. วิทยานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Deming, W.E. (1950). Elementary Principles of the Statistical Control of Quality. JUSE.
Juran, J. M., and Gryna, F. M. (1993). Quality planning and analysis : From product Development Through use. (3d ed). New York : Mc Graw-Hill.
Oakland, John, S. (1999). Total Organizational Excellence Achieving World – Class Performance. Linacre House : Jordan Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ความผิดพลาดของข้อความและผลที่อาจเกิดจากนำข้อความเหล่านั้นไปใช้ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสาร ก่อนเท่านั้น