คุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตทางอีเมล

ผู้แต่ง

  • ญานิกา ชีวะก้องเกียรติ
  • เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

คำสำคัญ:

ใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตทางอีเมล, คุณภาพการบริการ, ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

บทคัดย่อ

บริการทางอิเล็กทรอนิคส์นับได้ว่าเป็นบริการในรูปแบบใหม่ ที่มีอินเตอร์เน็ทเป็นช่องทางสำคัญในการส่งมอบบริการให้กับลูกค้า การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาบริการหนึ่งที่จัดอยู่ในประเภทนี้ คือ บริการใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตทางอีเมล โดยศึกษาคุณภาพของการบริการในมิติต่างๆและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของคุณภาพบริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การศึกษานี้ใช้ข้อมูลจากการสำรวจตัวอย่างผู้ใช้บริการใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตของธนาคารแห่งหนึ่ง จำนวน 400 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้บัตรเครดิต ระดับคุณภาพบริการ และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิต ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเชิงชั้น (Hierarchical Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการในมิติต่างๆที่มีต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยมีคุณลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมการใช้บัตรเป็นตัวแปรควบคุม

            ผลการศึกษาพบว่าคุณภาพการบริการที่ศึกษาทั้ง 5 มิติ ประกอบด้วยความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจ สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรม การเอาใจใส่ และการตอบสนอง และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ทั้งหมดมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยคุณภาพการบริการทั้ง 5 มิติมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ แต่มีเพียงคุณภาพการบริการในมิติของความน่าเชื่อถือและมิติการตอบสนองที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biographies

ญานิกา ชีวะก้องเกียรติ

คณะสถิติประยุกต์ สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์

คณะสถิติประยุกต์ สาขาวิชาการวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

References

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ และปารย์ทิพย์ ธนาภิคุปตานนท์. (2554, กรกฎาคม). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการบริการ ที่ได้รับกับความพึงพอใจและความภักดีของคนไข้: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 160-172.

วิภาดา ธำรงสมบัติ. (2550). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตที่มีผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการ ธนาคาร มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สุปราณี ศรีรัตนะ. (2558). การศึกษาคุณภาพการให้บริการและความจงรักภักดีของผู้ให้บริการที่มีผลกระทบต่อ ภาพลักษณ์ที่ดี: กรณีสำนักงานใหญ่ของธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่ง. รายงานการประขุมวิชาการและ นำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(6), 560-569.

AnberAbraheemShlash Mohammad and Shireen Yaseen Mohammad Alhamadani. (2011). Service Quality Perspectives and Customer Satisfaction in Commercial Banks Working in Jordan. Middle Eastern Finance and Economics, 2011 (14), 60-72.

Cronin, J.J., Brady, M.K., &Hult, G.T.M. (2000). Assessing the effects of quality, value, and customer satisfaction on consumer behavioural intentions in service environments. Journal of Retailing, 76(2), 193-218.

Parasuraman, A., Zeithaml V. A., & Berry L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of marketing,49, 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml V. A., & Berry L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Parasuraman, A., Zeithaml V. A., & Berry L. L. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of marketing, 60, 31-46.

Roscoe, J.T. (1975). Fundamental Research Statistics for the Behavioural Sciences2nd edition. New York: Holt Rinehart & Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30

How to Cite

ชีวะก้องเกียรติ ญ., & ธีรวรรณวิวัฒน์ เ. (2016). คุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิตทางอีเมล. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 1(1), 57–75. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/164696