การระบุพันธุ์ชมพู่เพชรด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ
คำสำคัญ:
การสกัดคุณลักษณะเด่น, ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมทชีน, 3 folds cross-validation, ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจบทคัดย่อ
ชมพู่เพชร (Phet Rose Apple) เป็นชมพู่พันธุ์การค้าที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทยซึ่งมีอัตราการส่งออกเป็นมูลค่าสูง แต่พ่อค้ามักนำชมพู่พันธุ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาจำหน่ายปะปนกับชมพู่เพชร ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน และไม่เชื่อมั่นในสินค้า จึงทำให้ชมพู่เพชรมียอดการจำหน่ายและส่งออกลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลเสียต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร และสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการระบุพันธุ์ชมพู่เพชรด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ คุณลักษณะเด่นที่สำคัญของชมพู่เพชร 2 คุณลักษณะได้ถูกสกัดออกมาจากบริเวณก้นผล ซึ่งคือ อัตราส่วนของพื้นที่กลีบชมพู่ และขนาดมุมของช่องว่างระหว่างกลีบชมพู่ จากนั้นนำมาใช้ในการระบุพันธุ์ ด้วยเทคนิคซัพพอร์ตเวกเตอร์แมทชีน (Support Vector Machine) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถใช้ระบุพันธุ์ชมพู่เพชรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีค่าความถูกต้องสูงสุดถึง 97.78% เมื่อทำการเปรียบเทียบผลการระบุพันธุ์กับผู้เชี่ยวชาญด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น R2 = 0.96 แสดงว่าวิธีการที่นำเสนอให้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับผู้เชี่ยวชาญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการเค้าเสรีภาคประชาชน. (2552, 25 กันยายน). การผลักดันชมพู่เพชรสายรุ้งดังระดับโลก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.ftawatch.org/node/16384. (วันที่ค้นข้อมูล : 10 มีนาคม 2558).
ณัฐชา แคนยุกต์ และ สากล สถิตวิทยานันท์. (2558). แนวทางการพัฒนาชมพู่เพชรสายรุ้งของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(2), 81-92.
นฐิณี รัตนมหาวิชัย. (2539). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะประจำพันธุ์ทางดอกและผลของชมพู่พันธุ์การค้า 6 พันธุ์. ปัญหาพิเศษการศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปัจจัย พวงสุวรรณ และธีระพงษ์ บริบูรณ์. (2557). การรู้จำการเขียนตัวอักษรไทยด้วยลายมือบนโทรศัพท์เคลื่อนที่. The Tenth National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT2014). 8-9 พฤษภาคม 2558 ณ โรงแรมอังสนา ลากูนา, ภูเก็ต.
สุภัทรา คำแดงไสย์ และ ปาริฉัตร เสริมวุฒิสาร. โปรแกรมวัดคุณภาพมะม่วงน้ำดอกไม้. ปริญญานิพนธ์การศึกษาบัณฑิตศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี. (2551, ม.ป.ป.). ชมพู่เพชรสายรุ้ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.phetchaburi.go.th/data/book_chompoo.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 5 มีนาคม 2558).
Akin, C., Kirci, M., Gunes, E.O., & C, Yuksel. (2012). Detection of the Pomegranate Fruits On Tree Using Image Processing. 2012 First International Conference on Agro-Geoinformatics. 2-4 August 2012 Shanghai Jiao Tong University Shanghai, China.
Senthilarasi, M., Mansoor Roomi, S. Md., & Prasanna, M. R. H. (2014). Shape based approach for Detecting Musa Species in Fruit Industry. Paper presented at 2014 Sixth International conference on Advanced Computing (ICoAC 2014). 17-19 December 2014 Chennai, India.
Jaisin, N., & Jarimopas, B. (2008). An experimental machine vision system for sorting sweet tamarind. Journal of food engineering. 89(2008), 291-297.
Leesom, N., & Surinta, O. (2009). Thai Handwritten Character Segmentation from Digital Image Documents. The 3rd Mahasarakham University Research Conference. September 2009 Mahasarakham University, Mahasarakham.
Wang, X., Huang, W., Jin, C., & Ren, F. (2014). FRUIT RECOGNITION BASED ON MULTI-FEATURE AND MULTI-DECISION. Paper presented at 3rd Conference of Computational Interdisciplinary Sciences (CCIS 2014). 30 September 2014 - 3 October 2014 Polytechnic School, National University of Asuncion, Paraguay.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ความผิดพลาดของข้อความและผลที่อาจเกิดจากนำข้อความเหล่านั้นไปใช้ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสาร ก่อนเท่านั้น