การเปรียบเทียบผลการจัดกลุ่มประเทศจากอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดและอัตรามรณะของทารก กับแบบแผนแบบจำลองตารางชีพขององค์การสหประชาชาติ

ผู้แต่ง

  • อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
  • มรรษมน ปรัชเจริญวนิชย์

คำสำคัญ:

อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด, อัตรามรณะของทารก, แบบจำลองตารางชีพ, การวิเคราะห์จัดกลุ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดกลุ่มประเทศจากอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดและอัตรามรณะของทารกและแปลความหมายของกลุ่ม และตรวจสอบผลที่ได้จากการวิเคราะห์จัดกลุ่ม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานของ ธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก องค์การอาหารและเกษตรแหล่งสหประชาชาติ จาก 183 ประเทศทั่วโลก การวิเคราะห์จัดกลุ่มสามารถแบ่งได้ 5 กลุ่ม คือ แบบแผนการตายสูงสุด แบบแผนการตายสูง แบบแผนการตายปานกลาง แบบแผนการตายต่ำ และแบบแผนการตายต่ำสุด การตรวจสอบผลของการจัดกลุ่มพบว่า ภูมิภาค ทวีป และกลุ่มรายได้ มีความสัมพันธ์กับการจัดกลุ่มประเทศ และกลุ่มที่มีแบบแผนการตายต่างกันจะมีตัวแปรด้านโภชนาการและสาธารณสุข ตัวแปรด้านเศรษฐกิจยกเว้นการออมต่อจีดีพี และตัวแปรด้านทุนมนุษย์ยกเว้นจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษาที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับแบบแผนแบบจำลองตารางชีพของสหประชาชาติ พบว่าการจัดประเภทรูปแบบแผนการตายขององค์การสหประชาชาติจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะข้อมูลการตายของประชากรทั่วโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากจากเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ทำให้แบบแผนแบบจำลองตารางชีพของสหประชาชาติไม่สอดคล้องกับข้อมูลการตายของประชากรโลกในปัจจุบัน

Author Biographies

อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

มรรษมน ปรัชเจริญวนิชย์

สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

How to Cite

ศักดิ์วรวิชญ์ อ., & ปรัชเจริญวนิชย์ ม. (2017). การเปรียบเทียบผลการจัดกลุ่มประเทศจากอายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดและอัตรามรณะของทารก กับแบบแผนแบบจำลองตารางชีพขององค์การสหประชาชาติ. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2(1), 87–98. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/164927