Time Series Models Predicting Fine Particulate Matter in Bangkok
คำสำคัญ:
PM2.5, ฝุ่นละออง, ฝุ่นพิษ, กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของฝุ่นละอองในกรุงเทพ[1]มหานคร ได้แก่ ความเร็วลม ทิศทางลม อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2561 โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ ผลการวิเคราะห์พบอิทธิพลของชั่วโมง อิทธิพลของเดือน อิทธิพลร่วมระหว่างชั่วโมงกับความเร็วลม และอิทธิพลร่วมระหว่างเดือนกับความเร็วลม ตัวแบบอนุกรมเวลาใช้การประมาณค่าแบบ Two-Pass Estimation เนื่องจากข้อมูลมีความผันแปรตามฤดูกาลหลายฤดูกาล (multi-seasonality) จึงจำเป็นต้องสร้างตัวแปรหุ่น (dummy variable) ที่ซับซ้อน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้นของฝุ่นลองในกรุงเทพมหานครมากที่สุดคืออิทธิพลของเดือนซึ่งสัมพันธ์กับฤดูกาลของประเทศไทย เดือนที่มีความเข้มข้นมากที่สุดคือเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ปัจจัยทางสภาพอากาศที่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความเข้มข้นของฝุ่นละอองมากที่สุดคือความเร็วลม เนื่องจากลมที่พัดผ่านกรุงเทพมหานครจะพัดฝุ่นละอองออกไปด้วย ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ลมตะวันตกเฉียงใต้จะอ่อนกำลังลงทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น และเกิดการสะสมตัวเนื่องจากความกดอากาศสูงทำให้เกิดอิทธิพลของชั่วโมงชัดเจนในเดือนดังกล่าว
*Corresponding author: E-mail: thidarat.ket@stu.nida.ac.th
1, 2 Faculty of Applied Statistics, National Institute of Development Administration
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ความผิดพลาดของข้อความและผลที่อาจเกิดจากนำข้อความเหล่านั้นไปใช้ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสาร ก่อนเท่านั้น