การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า : กรณีศึกษา บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด
คำสำคัญ:
ปัญหาการเลือกตำแหน่งที่ตั้ง, คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า, ตัวแบบทางคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
ตำแหน่งที่ตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้านับเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับต้นทุนการขนส่ง ดังนั้นการตั้งคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าใกล้กับแหล่งลูกค้าปลายทางจะช่วยให้การขนส่งสินค้าไปยังลูกค้ามีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นหากมีศูนย์กระจายสินค้ามากเกินไป ปัจจุบันบริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด เป็นผู้ให้บริการบุคคลที่ 3 ทำหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งสินค้ากลุ่มยาและเวชภัณฑ์ไปยังลูกค้าปลายทางซึ่งอยู่ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีคลังสินค้า 1 แห่งตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการและศูนย์กระจายสินค้าอีก 9 แห่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ในอดีตที่ผ่านมาบริษัทยังไม่เคยวิเคราะห์เกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้งของคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารวมทั้งจำนวนที่เหมาะสม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาตำแหน่งที่ตั้งคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสมให้กับทางบริษัทในการที่จะขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทางเพื่อให้ต้นทุนการขนส่งโดยรวมมีค่าต่ำที่สุด โดยใช้ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม LINGO พบว่าบริษัทควรมีคลังสินค้า 1 แห่งที่จังหวัดสมุทรปราการและมีศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด 12 แห่ง ซึ่งจะทำให้สามารถลดต้นทุนการขนส่งสินค้าลงได้ 1,343,170 บาทต่อเดือนหรือคิดเป็นร้อยละ 6.1
References
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). การจัดการขนส่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: ซี.วาย.ซิซเทิม พริ้นติ้ง จำกัด.
จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน. (2554). การเลือกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ให้บริการด้วยวิธีการหาคำตอบที่ดีที่สุด. วิศวกรรมสาร มก., 24(78), 107-122.
จารุพงษ์ บรรเทา, พงษ์ศักดิ์ นาใจคง, ธัญชนก งามสมโภชน์, เสาวลักษณ์ อาจใจ และณัฐิญา วงละคร.
(2560). ตัวแบบการกำหนดที่ตั้งคลังวัคซีน กรณีศึกษาโรงพยาบาลในเขตจังหวัดนครราชสีมา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 8, 494-500.
ปรางประเสริฐ น้อยสังข์ และ ชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2560).การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าภูมิภาค
ในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ ปัจจัยเชิงปริมาณร่วมกับปัจจัยเชิงคุณภาพด้วยฟังก์ชันหลายวัตถุประสงค์.วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 5 (1), 60-70.
พัชราภรณ์ เนียมมณี และวลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์. (2555). ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อหาที่ตั้ง Window สำหรับการกระจายเหรียญกษาปณ์. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการด้านการโซ่อุปทานและ โลจิสติกส์ ครั้งที่ 11, ชลบุรี : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 77-86.
ศักดิ์สิทธิ์ ศุขสุเมฆ. (2557). สร้างแบบจำลองเพื่อการตัดสินใจ (Optimization Modeling) ด้วย Excel (Solver). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
สุปรีชา วงศ์อารีย์. (2558). กำหนดการเชิงเส้นจำนวนเต็มและการประยุกต์. อุดรธานี: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). รายงานโลจิสติกส์ของประเทศไทยประจำปี 2560. ค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562 จาก http://www.nesdb.go.th.
อธิวัฒน์ ลีนะธรรม และเปรมพร เขมาวุฆฒ์. (2561). การเลือกตำแหน่งที่ตั้งคลังสินค้าโดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ กรณีศึกษา โรงงานผลิตเบียร์. Engineering Journal of Siam University, 19(1), 14-26.
Andrés, F. M., Jairo, R. M., and Nilson, H. (2014). Mathematical Programming Modeling and Resolution of the Location-Routing Problem in Urban Logistics. The Engineering and University journal (Colombia), 18(2), 271-289.
Shitai, B., Ningchuan, X., Zehui, L., Heyuan, Z. and Changjoo, K. (2015). Optimizing watchtower locations for forest fire monitoring using location models. Fire Safety Journal, 71, 100-109.
Logisticafe. ต้นทุนของการขนส่ง (Cost of Transportation) คืออะไร? Retrieved from https://www.logisticafe.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ความผิดพลาดของข้อความและผลที่อาจเกิดจากนำข้อความเหล่านั้นไปใช้ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสาร ก่อนเท่านั้น