การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยใช้การจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายก๊าซอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • ปิยะวัฒน์ ปรีดาวัฒน์ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • วริยา ปานปรุง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
  • วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์ ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

การจำลองสถานการณ์ การวิเคราะห์เอฟเอสเอ็น การหยิบสินค้า

บทคัดย่อ

บริษัทกรณีศึกษาซึ่งเป็นผู้จำหน่ายสินค้าประเภทก๊าซอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดการคลังสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพของพนักงานในการหยิบสินค้าส่งผลให้เกิดต้นทุนในการส่งมอบสินค้าที่ล่าช้า ดังนั้นเพื่อจัดการคลังสินค้าดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงการหยิบสินค้าในคลังสินค้าด้วยการจำลองสถานการณ์  โดยทำการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มสินค้าคงคลังตามความถี่ในการเบิกจ่ายด้วยวิธีการวิเคราะห์เอฟเอสเอ็ม (FSN Analysis) ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มประเภทสินค้าได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสินค้าหมุนเวียนเร็ว กลุ่มสินค้าหมุนเวียนช้า และกลุ่มสินค้าที่ไม่มีการหมุนเวียน และเลือกกลุ่มสินค้าหมุนเวียนเร็ว ได้แก่ ก๊าซอุตสาหกรรม ลวดเชื่อมและใบเจียร์ใบตัด มาทำการปรับเปลี่ยนตำแหน่งในการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าให้อยู่ใกล้กับสถานีบรรจุภัณฑ์ จากนั้นนำเสนอวิธีการหยิบ 2 แนวทางคือการหยิบสินค้าแบบหยิบทีละคำสั่งซื้อ (Discrete Order Picking) และการหยิบแบบชุด (Batch Picking) โดยเปรียบเทียบว่าแนวทางใดมีประสิทธิภาพในการลดระยะเวลาและลดระยะทางเดินในการหยิบสินค้ามากกว่ากัน ซึ่งผลจากการจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Arena Simulation พบว่าการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าร่วมกับการใช้วิธีการหยิบสินค้าแบบชุดมีประสิทธิภาพดีกว่าการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการจัดเก็บสินค้าร่วมกับการใช้วิธีการหยิบสินค้าแบบทีละคำสั่งซื้อและการหยิบแบบเดิม (AS-IS model) โดยสามารถลดระยะเวลาเฉลี่ยต่อคำสั่งซื้อและลดระยะทางรวมเฉลี่ยต่อวันในกระบวนการหยิบสินค้าเท่ากับร้อยละ 25.62 และร้อยละ 77.72 ตามลำดับ และส่งผลให้ระยะเวลาเฉลี่ยของคำสั่งซื้อในระบบลดลงร้อยละ 19.06 โดยจากผลการวิจัยจะช่วยเพิ่มความสามารถการจัดส่งสินค้าภายในเวลาที่กำหนดและลดต้นทุนการจัดส่งรอบพิเศษของบริษัทกรณีศึกษาลง

References

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2547). การจัดการคลังสินค้า. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลีสซิ่ง.

เจนรตชา แสงจันทร์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ชยุตม์ บรรเทิงจิตร. (2561). การประยุกต์ใช้เทคนิคการจำลองสถานการณ์ในการออกแบบผังคลังสินค้าเพื่อลดเวลาในการขนถ่ายวัสดุ. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 8(3), 1-14.

ณัฐวดี ปัญญาพานิช และสมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์. (2558). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสถานการณ์ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพกระบวนการหยิบสินค้า. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 37(144), 24-50.

นภดล ร่มโพธิ์. (2554). การวัดความพึงพอใจลูกค้าและวัดความพึงพอใจพนักงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. (2551). คู่มือการสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม Arena. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วรธน แสงศักดา. (2554). การจัดสรรพื้นที่การจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้าโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วลัยลักษณ์ อัตธีรวงศ์. (2561). การวางแผนการผลิต. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Bartholdi, J. J. and Hackman, S. T. (2014). Warehouse & Distribution Science. cited 11 September 2021 Retrieved from https://www. warehouse-science.com.

Charles, G. P. (2002). Considerations in Order Picking Zone Configuration. Journal of Operations and Production Management. 22(7), 793-805.

Dawis, R. V. (1994). The Minnesota Theory of Work Adjustment. Minneapolis: University of Minnesota Press.

Hmida, J. B., Parekh, S. and Lee, J. (2014). Integrated Inventory Ranking System for Oilfield Equipment Industry. Journal of Industrial Engineering and Management. 7(1), 115-136.

James, A. T. and Jerry, D. S. (1998). The Warehouse Management Handbook. (2nd Edition). Nottingham: Tompkins Press.

Kelton, W. D., Sadowski, R. P. and Zupick, N. B. (2015). Simulation with Arena. (6th Edition). New York: McGraw Hill.

Kumar, Y., Khaparde, R. K., Dewangan, K., Dewangan, G. K., Dhiwar, J. S. and Sahu, D. (2017). FSN Analysis for Inventory Management – Case Study of Sponge Iron Plant. International Journal for Research in Applied Science & Engineering Technology (IJRASET). 5(2), 53-57.

Melanie, C. (2018). FSN Analysis–How It Can Be a Useful Tool for Inventory Management. cited 9 August 2021 Retrieved from https://www.unleashedsoftware.com/blog/fsn-analysis-can-useful-tool-inventory-management.

Sooksaksun, N. and Sudsertsin, S. (2014). The Application of RFID in Warehouse Process: Case Study of Consumer Product Manufacturer in Thailand. LogForum Scientific Journal of Logistics. 10(4), 423-431.

Song, B. H., Lee, J. H., Jo, Y. D. and Park, K. D. (2016). Study on The Safety Management of Toxic Gas Cylinder Distribution Using RFID. International Journal of Safety and Security Engineering. 6(4), 209-218.

Wasusri, T. and Theerawongsathon, P. (2016). An Application of Discrete Event Simulation on Order Picking Strategies: A Case Study of Footwear Warehouses. European Council for Modelling and Simulation. 30(1), 121-127.

Wu, Y. J. and Chen, J. X. (2007). RFID Application in a CVS Distribution Center in Taiwan: A Simulation Study. International Journal of Manufacturing Technology and Management. 10(1), 121-135.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19

How to Cite

ปรีดาวัฒน์ ป. ., ปานปรุง ว. . ., & อัตธีรวงศ์ ว. . (2022). การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยใช้การจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษา บริษัทจำหน่ายก๊าซอุตสาหกรรม. วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(2), 26–47. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/asit-journal/article/view/245363