การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่ง ณ ปัจจุบันภายในคลังสินค้า
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RTLS, การวิเคราะห์ข้อมูลคลังสินค้า, การวิเคราะห์ความแออัด, การปรับปรุงคลังสินค้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบุตำแหน่ง ณ ปัจจุบัน (RTLS) ในการปรับปรุงการจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การออกแบบการทดลองและเก็บข้อมูลใน Smart logistics lab: ทดลองจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการเกิดปัญหาคอขวด (Congestion) จากนั้นนำข้อมูลจาก RTLS มาวิเคราะห์และปรับปรุงการทำงานด้วยการจำลองสถานการณ์ร่วมกับ TSP Strategy model 2) การวิเคราะห์คิว (Queuing analysis): วิเคราะห์หาจุดคอขวดและออกแบบผังคลังสินค้าใหม่ (Redesign layout) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในคลังสินค้า ผลการทดลอง ชี้ให้เห็นว่าการนำข้อมูลจาก RTLS มาประยุกต์ใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้าได้จริง ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ข้อมูลจาก RTLS ช่วยให้เห็นปัญหาการแออัด (Congestion) ซึ่งนำไปสู่การทดลองจำลองสถานการณ์หลายรูปแบบและการจัดการพื้นที่ใช้สอย (Space utilization) อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้ยังถูกนำไปใช้ในการจำลองสถานการณ์เพื่อหาค่าที่เหมาะสมในการปรับปรุงงานคลังสินค้า สำหรับข้อจำกัดสำคัญ ของงานวิจัยนี้คือข้อจำกัดด้านพื้นที่ ซึ่งทำให้จำเป็นต้องใช้พื้นที่และกระบวนการทำงานจริงเพื่อให้เห็นประโยชน์ของ RTLS ได้อย่างเต็มที่
References
Halawa, F., Dauod, H., Lee, I. G., Li, Y., Yoon, S. W., & Chung, S. H. (2020). Introduction of a real time location system to enhance the warehouse safety and operational efficiency. International Journal of Production Economics, 224, 107541.
https://doi.org/10.1016/j.ijpe.2019.107541
Ketmaneechairat, H., & Soiraya, B. (2565). ระบบติดตามตำแหน่งภายในอาคารแบบเรียลไทม์ระดับเซนติเมตร. The Journal of Industrial Technology, 18(3), 47-68.
Khan, M. G., Huda, N. U., & Zaman, U. K. U. (2022). Smart warehouse management system: Architecture, real-time implementation and prototype design. Machines, 10(2), 150. https://doi.org/10.3390/machines10020150
Lee, I. G., Chung, S. H., & Yoon, S. W. (2020). Two-stage storage assignment to minimize travel time and congestion for warehouse order picking operations. Department of Systems Science and Industrial Engineering, Binghamton University.
Sahara, C. R., & Aamer, A. M. (2022). Real-time data integration of an internet-of-things-based smart warehouse: A case study. International Journal of Pervasive Computing and Communications, 18(5), 622-644. https://doi.org/10.1108/IJPCC-12-2021-0167
Thiede, S., Sullivan, B., Damgrave, R., & Lutters, E. (2021). Real time locating system for human centered production planning and monitoring. Graz University of Technology.
กัญญา ภัคภู่ระย้า. (2559). การจัดการคลังสินค้าของบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด. Journal of Logistics and Supply Chain Management Ramkhamhaeng, 3(1), 2559.
จินตนา สีหาพงษ์. (2556). RFID เทคโนโลยีอัจฉริยะกับการจัดการคลังสินค้ายุคใหม่. PAYAP UNIVERSITY JOURNAL, 23(2), 47-62.
ชินานันท์ เผ่ากันสีห์ภัค. (2563). แบบจำลองสถานการณ์เพื่อการจัดตารางรถขนส่งที่เหมาะสมสำหรับคลังสินค้าแบบทันเวลาพอดีภายใต้ความไม่แน่นอนด้านเวลาการขนส่ง. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บงกช เศวตไพศาลกุล. (2563). การปรับปรุงตำแหน่งการวางชิ้นส่วนเครื่องพิมพ์ในคลังสินค้า. วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสถิติประยุกต์และเทคโนโลยีสารสนเทศถือเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลของผู้เขียนแต่ละท่าน ความผิดพลาดของข้อความและผลที่อาจเกิดจากนำข้อความเหล่านั้นไปใช้ผู้เขียนบทความจะเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสาร ก่อนเท่านั้น