การศึกษาการสูญเสียน้ำจากการระเหยของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ข้อมูลทางอุทกวิทยานับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการวางแผนและบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลการระเหยของน้ำจากอ่างเก็บน้ำที่สะท้อนถึงข้อมูลปริมาณน้ำต้นทุนของระบบ บทความฉบับนี้จึงเป็นการนำเสนอผลการศึกษาและทบทวนถึงลักษณะรูปแบบ และแนวโน้มของการสูญเสียน้ำจากการระเหยของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ รัชชประภา ศรีนครินทร์ และสิริกิตติ์ โดยอาศัยข้อมูลตรวจวัดจริงจากถาดวัดการระเหยร่วมกับวิธีการประมาณค่า 4 วิธีได้แก่ วิธีงบน้ำ วิธีเอมไพริกัล วิธีเคลื่อนย้ายมวล และวิธีผสมผสาน ผลการศึกษาพบว่า อัตราการระเหยของน้ำจากอ่างเก็บน้ำอุบล-รัตน์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอันเนื่องมาจากปัจจัยข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาและลักษณะกายภาพของอ่างเก็บน้ำโดยมีค่าการสูญเสียน้ำจากการระเหยสูงถึง 19.68% เทียบกับปริมาตรเก็บกักใช้การที่ระดับเก็บกักเฉลี่ย ในขณะที่ผลการวิเคราะห์การสูญเสียน้ำของอ่างเก็บน้ำ รัชชประภา ศรีนครินทร์ และสิริกิตติ์ถือว่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับปริมาตรเก็บกักใช้การของแต่ละอ่างเก็บน้ำกล่าวคืออยู่ในช่วงระหว่าง 3.92% ถึง 7.38% โดยแสดงอิทธิพลของแนวโน้มลดลงสำหรับอ่างเก็บน้ำรัชชประภา และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสำหรับอ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์และสิริกิตติ์ตามปัจจัยความผันแปรของภูมิอากาศในพื้นที่
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์