ผลกระทบของผงแคลเซียมคาร์บอเนตต่อกำลังอัดของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์มอร์ต้าร์ผสมเถ้าแกลบจากโรงไฟฟ้า

Main Article Content

บุรฉัตร ฉัตรวีระ
ณัฏฐ์ มากุล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความนี้นำเสนอการพัฒนากำลังอัดของมอร์ต้าร์ซึ่งทำการแทนที่ปอร์ตแลนด์ซีเมนต์ประเภทที่ 1 ด้วยเถ้าแกลบ (RHA) จากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าและผงแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย (D[4,3]) เท่ากับ 29.30, 3.80 และ 4.50 ไมโครเมตร ตามลำดับ ที่ร้อยละ 0, 20 และ 40 โดยน้ำหนักของวัสดุผง อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุผงที่ใช้เป็นไปตามปริมาณน้ำซึ่งทำให้มอร์ต้าร์มีค่าการไหลแผ่ร้อยละ 110 5 ผลทดสอบพบว่า ผงแคลเซียมคาร์บอเนตสามารถช่วยลดความต้องการน้ำของมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าแกลบได้ มอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าแกลบและผงแคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 5 และ 15 ตามลำดับ มีค่ากำลังอัดในช่วง 28 วัน สูงที่สุด ในขณะที่มอร์ต้าร์ที่อายุ 150 วัน มอร์ต้าร์ผสมเถ้าแกลบและผงแคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 10 และ 10 ตามลำดับ มีค่ากำลังอัดสูงที่สุดและใกล้เคียงกับมอร์ต้าร์ควบคุมด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย