การศึกษาคุณลักษณะของชั้นดินบริเวณที่ตั้งด้วยการตรวจวัดคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดิน

Main Article Content

นคร ภู่วโรดม
กิตติศักดิ์ พิทักษ์วงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะของชั้นดินบริเวณที่ตั้งที่มีผลหลักต่อระดับความรุนแรงและลักษณะของการสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหว โดยการตรวจวัดคลื่นขนาดเล็กที่ผิวดินด้วยเทคนิคการตรวจวัดแบบ 1 จุด เพื่อวิเคราะห์อัตราส่วนของสเปกตรัมในแนวราบต่อแนวดิ่งของคลื่นที่ผิวดินสำหรับค่าคาบอิทธิพลหลัก และใช้เทคนิคการตรวจวัดแบบหลายจุดพร้อมกันเพื่อวิเคราะห์แบบ 2-sites Spatial Autocorrelation (2sSPAC) สำหรับการสำรวจค่าความเร็วคลื่นเฉือนตามความลึกของชั้นดิน บริเวณที่ศึกษามี 8 แห่งใน กทม. เชียงใหม่ เชียงราย และกาญจนบุรี ผลการศึกษาความเร็วคลื่นเฉือนด้วยวิธี 2sSPAC ให้ผลสอดคล้องกับผลโดยเทคนิคอื่นที่เคยมีผู้วิจัยไว้ก่อนหน้าเป็นอย่างดี และผลความเร็วคลื่นเฉือนเฉลี่ย เมื่อนำมาใช้จำแนกชั้นดิน ได้ผลคือ บริเวณที่ศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และกาญจนบุรี ส่วนใหญ่จำแนกเป็น ชั้นดินประเภท D (ดินแข็ง) และบางส่วนเป็นประเภท C (ดินแข็งมาก กึ่งหิน) ส่วนในกทม. พบว่าทุกบริเวณที่ศึกษาจำแนกเป็นประเภท E (ดินอ่อน) ค่าคาบอิทธิพลหลักของพื้นที่ศึกษา มีค่าประมาณ 0.7 วินาทีสำหรับบริเวณดินอ่อน และประมาณ 0.4 วินาทีสำหรับบริเวณดินแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย