ผลของพีเอชต่อการลดซัลเฟตในระบบยูเอเอสบีสำหรับการบำบัดน้ำเสียน้ำยางข้น

Main Article Content

กนกกาญจน์ กาญจนวัฒน์
ชวลิต รัตนธรรมสกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของพีเอชต่อการลดซัลเฟตในระบบยูเอเอสบี (Upflow Anaerobic Sludge Blanket ; UASB)  สำหรับการบำบัดน้ำเสียน้ำยางข้น  การทดลองนี้ทำการเดินระบบต่อเนื่องด้วยระบบยูเอเอสบี  โดยกำหนดค่าพีเอชเป็น 5, 6, 7 และ 8.5  อัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์เท่ากับ 2 ก.ก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน  และระยะเวลากักเก็บน้ำ 2 วัน ด้วยถังปฏิกรณ์ยูเอเอสบี 2.43 ลิตร  ผลการทดลองพบว่า ระบบสามารถกำจัดซีโอดีได้ 57.84, 63.92, 72.59 และ 60.32 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  และกำจัดซัลเฟตได้ 50.70, 59.64, 64.79 และ 47.87 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ และกำจัดของแข็งแขวนลอยได้ 39.37, 56.63, 67.18 และ 47.87 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ  สำหรับพีเอชน้ำออกจากระบบมีค่าเฉลี่ย 8.08, 8.28, 8.44 และ 8.56 ตามลำดับ โดยระบบ       ยูเอเอสบีสามารถกำจัด   ซีโอดี ซัลเฟต และของแข็งแขวนลอย ได้มากที่สุดเมื่อ pH เท่ากับ 7 สำหรับปริมาณก๊าซชีวภาพจากระบบมีค่าเฉลี่ย 369, 367, 422 และ 403 มิลลิลิตรต่อวันตามลำดับ และมีปริมาณสัดส่วนก๊าซมีเทนของระบบ 40.68, 45.92, 53.44 และ 30.37 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย