คุณสมบัติของปูนฉาบมวลเบาที่ผสมเถ้าชีวมวล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเถ้าชีวมวล มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปูนฉาบให้มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีขึ้น และเหมาะกับการใช้งานทั่วไป โดยทำการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติของปูนฉาบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 1776-2542) และการเป็นฉนวนกันความร้อน เพื่อเปรียบเทียบกับมอร์ตาร์ควบคุมที่ผสมด้วยปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ซึ่งตัวแปรหลัก ได้แก่ สัดส่วนการแทนที่ทรายละเอียดด้วยเถ้าชีวมวลที่ยังไม่บด และการแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าชีวมวลบด ในปริมาณร้อยละ 5, 10, 15 และ 20 โดยน้ำหนัก จากผลการทดสอบ พบว่า การเพิ่มอัตราส่วนการแทนที่ของเถ้าชีวมวลไม่บด และเถ้าชีวมวลบด ส่งผลให้กำลังรับแรงอัดของมอร์ตาร์มีค่าลดลง แต่ทุกส่วนผสมให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงกว่ามาตรฐาน มอก. และด้านการเป็นฉนวนกันความร้อน การแทนที่ของเถ้าชีวมวลบด ไม่มีผลกระทบต่อการเป็นฉนวนกันความร้อน ส่วนการแทนที่ของเถ้าชีวมวลไม่บดในปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณสมบัติการเป็นฉนวนกันความร้อนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบตัวอย่างทั้งหมด การแทนที่ของเถ้าชีวมวลไม่บดในปริมาณร้อยละ 20 มีค่าการส่งผ่านความร้อนต่ำที่สุด เท่ากับ 1.06 W/mK ซึ่งดีกว่าตัวอย่างควบคุมประมาณร้อยละ 37 โดยสรุป เถ้าชีวมวลที่ไม่บด สามารถใช้แทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วนในส่วนผสมของปูนฉาบ ซึ่งมีความเหมาะสมทั้งด้านมาตรฐาน มอก. และการเป็นฉนวนกันความร้อน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์