การควบคุมพัสดุคงคลังประเภทหมึกพิมพ์: กรณีศึกษาบริษัทผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พัสดุคงคลังสำรอง และจุดสั่งซื้อใหม่ของหมึกพิมพ์ในโรงงานผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกกรณีศึกษา การควบคุมพัสดุคงคลังของหมึกพิมพ์ในปัจจุบันใช้ประสบการณ์ของพนักงาน ทำให้มีปริมาณการจัดเก็บพัสดุคงคลังและมีต้นทุนในการควบคุมพัสดุคงคลังที่สูง วิธีการดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ (1) ใช้หลักการวิเคราะห์ ABC เพื่อแบ่งกลุ่มหมึกพิมพ์ ได้ผลคือมีหมึกพิมพ์กลุ่ม A จำนวน 25 รายการ จากหมึกพิมพ์ทั้งหมด 135 รายการ (2) ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน เพื่อทดสอบความเหมาะสมของข้อมูลก่อนการหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ได้ผลคือมีหมึกพิมพ์ 23 รายการที่สามารถนำมาหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดได้ (3) คำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พัสดุคงคลังสำรอง และจุดสั่งซื้อใหม่ ของหมึกพิมพ์ ผลที่ได้จากการวิธีการควบคุมพัสดุคงคลังที่นำเสนอเพื่อทดแทนการใช้ประสบการณ์ของพนักงาน ทำให้ระดับพัสดุคงคลังลดลงจาก 4,191 กิโลกรัม เหลือ 2,751 กิโลกรัม และเงินลงทุนในพัสดุคงคลังลดลงจาก 473,583 บาทต่อปี เหลือ 310,863 บาทต่อปี ลดลงได้ 162,720 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 34.4%
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์