จลนพลศาสตร์ของการกำจัดสีย้อมในน้ำทิ้งจากกระบวนการย้อมผ้าในระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนโดยใช้แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ในระบบถังกวน

Main Article Content

จักรกฤษณ์ อัมพุช
รัตนวรรณ (วิบูลย์สวัสดิ์) เกียรติโกมล

Abstract

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาจลนพลศาสตร์ของการกำจัดสีย้อมเคมีในน้ำทิ้งจากกระบวนการย้อมผ้าในอุตสาหกรรมระดับครัวเรือนด้วยวิธีการดูดซับโดยใช้แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ธรรมชาติและ TDMA-clay (แร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ที่ถูกปรับปรุงสมบัติพื้นผิวด้วยสาร TDMA-Br) เป็นตัวดูดซับในระบบถังกวน โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนแรกศึกษาความเป็นไปได้ในการกำจัดสีย้อมของตัวดูดซับในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า สีย้อมเคมีในน้ำทิ้งเหล่านี้เป็นสารอินทรีย์จึงทำให้ TDMA-clay ซึ่งเป็นตัวดูดซับที่ชอบสารอินทรีย์สามารถดูดซับสีย้อมได้ดีกว่าแร่ดินมอนต์มอริลโลไนต์ธรรมชาติซึ่งเป็นตัวดูดซับที่ชอบน้ำ พฤติกรรมการดูดซับเป็นไปตามไอโซเทริ์มการดูดซับแบบ Langmuir และ Freundlich ขั้นตอนที่สองศึกษาจลนพลศาสตร์การดูดซับในระบบถังกวน พบว่า อัตราการกำจัดสีย้อมเป็นไปตามกลไกอันดับสองเทียมและมีประสิทธิภาพของถังกวนอยู่ในช่วง 30 – 100 % ขึ้นอยู่กับชนิดของสีที่ใช้ย้อม นอกจากนี้ระบบถังกวนยังสามารถลดค่า COD ของน้ำเสียได้ด้วย

Article Details

Section
Research Articles