พฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
เจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็กมีการก่อสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็กยังคงมีอยู่อย่างจำกัด รายงานการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์ส่วนใหญ่เป็นของเจดีย์อิฐก่อและเจดีย์ไม้ซึ่งมีการก่อสร้างตั้งแต่ในสมัยโบราณ งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็กโดยใช้การตรวจวัดจริงประกอบกับการใช้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ ตัวอย่างเจดีย์ที่ศึกษาคือ เจดีย์วัดป่าบ้านค้อ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นเจดีย์รูปทรงระฆังศิลปะลังกา มีความสูงประมาณ 72.0 เมตร โครงสร้างเป็นระบบเสา คาน พื้นและผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก ผลจากการตรวจวัดจริงโดยการวัดการสั่นไหวภายใต้สภาวะแวดล้อม (Ambient Vibration) ด้วยเครื่องวัดความเร่ง (Accelerometer) ทำให้ทราบถึงคุณสมบัติเชิงพลศาสตร์พื้นฐานของเจดีย์ประกอบด้วย ค่าความถี่การสั่นไหวธรรมชาติพื้นฐาน (First Mode Natural Vibration Frequency) รูปแบบการสั่นไหวธรรมชาติพื้นฐาน (Natural Vibration Mode Shape of First Mode) และอัตราส่วนความหน่วง (Damping Ratio) ค่าคุณสมบัติเชิงพลศาสตร์พื้นฐานที่ได้จากการตรวจวัดจริงใช้ในการปรับแก้ค่าพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ (Calibration of Model Parameter) ก่อนที่จะใช้แบบจำลองในการศึกษาพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็ก จากผลการศึกษาทำให้ทราบพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็กและแนวทางในสร้างแบบจำลองเจดีย์คอนกรีตเสริมเหล็ก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์