อิทธิพลของปริมาณมวลรวมหยาบรีไซเคิลต่อพารามิเตอร์ การแตกหักของคอนกรีตที่นำมวลรวมหยาบกลับมาใช้ใหม่

Main Article Content

สมชาย กล้าวิกย์กรณ์
กำธรเกียรติ มุสิเกต
สุธี ปิยะพิพัฒน์
พงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา

Abstract

งานวิจัยในครั้งนี้ไม่ได้มุ่งไปที่การศึกษาเฉพาะอิทธิพลของปริมาณมวลรวมหยาบรีไซเคิล (Recycled Aggregate, RA) ต่อพารามิเตอร์การแตกหัก (Fracture parameters) ของคอนกรีตที่มีมวลรวมหยาบแบบนำกลับมาใช้ใหม่ ( Recycled Aggregate Concrete, RAC) หรือคอนกรีตมวลรวมหยาบรีไซเคิลเพียงเท่านั้น แต่ผลของการวิจัย ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเบื้องต้นสำหรับการวิจัยคุณสมบัติการแตกหักของคอนกรีตมวลรวมหยาบรีไซเคิลในอนาคตของประเทศไทย ปริมาณมวลรวมหยาบรีไซเคิลที่ใช้ เป็นอัตราส่วนผสมร้อยละ 50, 75 และ 100 โดยน้ำหนักของมวลรวมหยาบทั้งหมด ทำการปรับปรุงคุณภาพมวลรวมหยาบรีไซเคิลให้อยู่ในสภาวะอิ่มตัวผิวแห้งก่อนการนำไปใช้ อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ใช้เท่ากับ 0.6 ตัวอย่างคอนกรีตรูปทรงกระบอกใช้สำหรับทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางกล ในขณะที่ตัวอย่างคานคอนกรีตซึ่งมีรอยบากบริเวณกึ่งกลางคาน (Notched beams) ซึ่งมีรูปทรงทางเรขาคณิตที่คล้ายคลึงกันจำนวน 3 ขนาดที่แตกต่างกัน ถูกใช้สำหรับการทดสอบเพื่อหาค่าพารามิเตอร์การแตกหักโดยวิธี Size Effect ผลการศึกษาพบว่า ตัวประกอบความเข้มข้นของความเค้น (Stress intensity factor) ในโหมดที่ 1  และอัตราการปลดปล่อยพลังงานการแตกหัก (Fracture energy release rate) มีค่าลดลงตามปริมาณที่เพิ่มขึ้นของมวลรวมหยาบที่นำกลับมาใช้ใหม่

Article Details

Section
Research Articles