การศึกษามูลค่าเวลาการเดินทางของถนนสายรองในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ถนนสายรองเป็นถนนที่ทำหน้าที่กระจายกระแสจราจรจากถนนสายหลัก และเป็นถนนที่มีบทบาทสำคัญในการเดินทางของประชาชนในเขตชุมชนรวมไปถึงการจราจรในชนบท ถนนสายรองมีความแตกต่างจากถนนประเภทอื่นในแง่ของลักษณะและพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้บริการถนน การวิเคราะห์มูลค่าเวลาการเดินทาง (Values of Time , VOT) ของถนนสายรองสามารถวิเคราะห์ด้วยวิธีอัตรารายได้ (Wage Rate Method) ซึ่งมีตัวแปรในการคำนวณ 9 ตัวแปรได้แก่ รายได้ส่วนบุคคล สัดส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลต่อยานพาหนะประเภทอื่น สัดส่วนรายได้ มูลค่าเวลาทำงาน วัตถุประสงค์การเดินทาง จำนวนผู้โดยสาร มูลค่าเวลาการเดินทางของยานพาหนะแต่ละประเภท สัดส่วนยานพาหนะแต่ละประเภท และค่าถ่วงน้ำหนักของยานพาหนะแต่ละประเภท (PCE Factor) จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลสูงต่อการคำนวณมูลค่าเวลาการเดินทางมีทั้งหมด 3 ตัวแปรได้แก่ 1.สัดส่วนรถยนต์ส่วนบุคคลต่อยานพาหนะประเภทอื่น 2.วัตถุประสงค์การเดินทาง และ 3.รายได้ส่วนบุคคล และเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าในกลุ่มผู้ใช้บริการถนนที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลมีรายได้สูงสุด โดยกลุ่มตัวอย่างจากถนนสาย รอ.3044 และ นค.3009 มีรายได้เฉลี่ยที่ 21,106 และ 24,119 บาทต่อเดือน ดังนั้น เนื่องจากผู้ใช้บริการถนนส่วนใหญ่เป็นการเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งมีรายได้สูงและเป็นการเดินทางเพื่อสร้างรายได้ จึงส่งผลให้มูลค่าเวลาการเดินทางของถนนสาย รอ.3044 และ นค.3009 มีค่าเท่ากับ 232.33 และ 217.72 บาท/PCU-ชั่วโมง ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
References
Bank. Transport NO. OT-5 81602. 1997
[2] P.J. Mackie, M. Wardman, A.S. Fowkes, et al. Values of Travel Time Savings UK.Working Paper. Institute of Transport Studies, University of Leeds, Leeds, UK.
Working Paper 567., 2003.
[3] C. Vergara-Alert. A Real Option Model for Optimal Investments on Transportation. In Transportation Research Board., 2007.
[4] Ó. Álvarez, P. Cantos, and L. García, The value of time and transport policies in a parallel road network. Transport Policy, 2003, 14(5), 366–376.
https://doi.org/10.1016/j.tranpol.2007.04.012
[5] M. Börjesson, M. Fosgerau, and S. Algers (2012). Catching the tail: Empirical identification of the distribution of the value of travel time. Transportation
Research Part A: Policy and Practice, 46(2), 378–391. https://doi.org/10.1016/j.tra.2011.10.006
[6] G. De Jong, M. Kouwenhoven, J. Bates, P. Koster, E. Verhoef, , L. Tavasszy, and P. Warffemius. New SP-values of time and reliability for freight transport in the
Netherlands. Transportation Research Part E: Logistics and Transportation Review, 2014, 64, 71–87. https://doi.org/10.1016/j.tre.2014.01.008
[7] M. Kouwenhoven, G. C. de Jong, P. Koster, V. A. C. van den Berg, E. T. Verhoef, J. Bates, and P. M. Warffemius J. New values of time and reliability in passenger
transport in The Netherlands. Research in Transportation Economics, 2014, 47(1), 37–49. https://doi.org/10.1016/j.retrec.2014.09.017
[8] Sanders, S., Drivyla, E., Bourdon, J., Batley, R., Cabral, M. O., Chintakayala, P. K., … Sheldon, R. (2015). Provision of market research for value of travel time
savings and reliability Phase 2 Report. 1–267. https://doi.org/10.2298/JSC140319092Z
[9] J. Supanut and P. Surachet. Benefit Assessment of Highway Projects: A Case Study of Thailand 10 Years Master Plan. Master of Engineering in Transportation
Engineering, Bachelor of Engineering in Civil Engineering King Mongkut's University of Technology North Bangkok, Thailand, 2016.
[10] J. J. Laird, and A. J. Venables. Transport investment and economic performance: A framework for project appraisal. Transport Policy, 2017, 56, 1–11.
https://doi.org/10.1016/j.tranpol.2017.02.006
[11] กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ, 2548, pp. 85–114.
[12] กรมทางหลวง. โครงการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนตัวของการจราจรบนทางหลวงสายหลัก, 2553.
[13] พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของโครงการสายเลี่ยงเมืองสันป่าตอง – หางดง. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 2553, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เดือน
เมษายน – กันยายน.
[14] ภิญญาพัชญ์ สีหะวงษ์. โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 12 ตอน กาฬสินธุ์ - บ . นาไคร้ จ.กาฬสินธุ์, กรมทางหลวง, 2553.
[15] สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. การศึกษาสำรวจความต้องการการเดินทาง (Travel Demand Survey) และปรับปรุงฐานข้อมูลการเคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อการวางแผนระบบ
ขนส่งของประเทศ, 2561.