การศึกษาภาคสนามลักษณะรูปแบบของการรุกของน้ำเค็มเข้ามาสู่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ---

Main Article Content

ชาญยุทธ กาฬกาญจน์
ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิชย์
สัจจะ เสถบุตร

บทคัดย่อ

การรุกตัวของน้ำเค็มเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นในทางน้ำและมีลักษณะการกระจายความเค็มที่แตกต่างกันไปตามสภาพธรรมชาติ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบการรุกของน้ำเค็มบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยทำการสำรวจภาคสนาม และรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ในการอธิบายลักษณะรูปแบบการรุกของน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกง ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่ทำให้เข้าใจกระบวนการทางอุทกพลศาสตร์ และการรุกของน้ำเค็มบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง ในการพัฒนาวิธีการจัดการกับปัญหาการรุกของน้ำเค็ม รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ ผลการศึกษาพบว่าแม่น้ำบางปะกงมีลักษณะเป็นปากแม่น้ำที่ราบชายฝั่ง การกระจายความเค็มบริเวณปากแม่น้ำตามฤดูกาลที่แตกต่างกัน เนื่องจากอิทธิพลของปริมาณน้ำจืดทางต้นน้ำและน้ำเค็มจากทะเลตามลำดับ การกระจายความเค็มบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงผลที่ได้มีความสอดคล้องกับลักษณะที่มีการอธิบายทางทฤษฎี เช่น เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ปากแม่น้ำมีลักษณะเป็นปากแม่น้ำเนกกาทีฟ หรืออินเวอร์ส และเกิดการผสมกันระหว่างน้ำเค็มและน้ำจืดเป็นอย่างดี เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และคณะ. การศึกษาการจัดการการแทรกตัวของน้ำเค็มเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.

อภิศักดิ์ โพธิ์ปั้น. ผลกระทบของการรุกล้ำของน้ำทะเลต่อความเค็มของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2554.

USGS. Saltwater Intrusion, 2020. Available from: https://www.usgs.gov/mission-areas/water-resources/science/saltwater-intrusion?qt-science_center_objects=0#qt-science_center_objects [Accessed 8 August 2020].

Mai, N. P., Thang, T. D., Kantoush, S., Sumi, T. and Van Binh, D. The Processes of Saltwater Intrusion into Hau River. In: Proceedings of the 10th International Conference on Asian and Pacific Coasts (APAC 2019), Hanoi, Vietnam, 25-28 September 2019, pp. 1477-1483.

Fischer, H. B., List, J. E., Koh, C. R., Imberger, J. and Brooks, N. H. Mixing in Inland and Coastal Waters. Elsevier. 2013.

สุนารี เสือทุ่ง และสนิท วงษา. การคาดการณ์เบื้องต้นผลกระทบการรุกตัวของความเค็มต่อการเกษตร: กรณีศึกษาสมมติใช้ข้อมูล IPCC ต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลในอ่าวไทย. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 2560, 7 (1), หน้า 34-50.

ณัฐวุฒิ อินทบุตร และวิษุวัฒก์ แต้สมบัติ. การรุกล้ำของความเค็ม และการแพร่กระจายความเค็มตามความยาวของลำน้ำในแม่น้ำท่าจีน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557, 3 (2), หน้า 71-86.

กรมชลประทาน. รายงานสรุปสถานการณ์รุกล้ำของน้ำเค็มและมาตรการในการลดผลกระทบ. กรุงเทพฯ: กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2557.

Leake, S.A., and Barlow, P.M., Understanding and managing the effects of groundwater pumping on streamflow. Denver, CO: U.S. Geological Survey Fact Sheet 2013–3001.

พรรษวรรณ บุณยรัตพันธุ์, สุรชัย ลิปิวัฒนาการ, ชัยวัฒน์ ขยันการนาวี และพรรณพิมพ์ พุทธรักษา มะเปี่ยม. การจำลองการไหลของน้ำใต้ดินและการรุกตัวของน้ำเค็มรอบบ่อเก็บน้ำ จังหวัดพังงา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 2562, 26 (2), หน้า 66-79.

อนุกูล บูรณประทีปรัตน์. การไหลเวียนกระแสน้ำบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่งจังหวัดชลบุรี จากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองไฮโดรไดนามิค. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 2552, 14 (2), หน้า 50-60.

อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ และเผชิญโชค จินตเศรณี. คุณภาพน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง พ.ศ. 2545. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 2552, 17 (2), หน้า 116-129.

สมัย ผลบุญ. การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 2547.

วัลลภ ทิมดี. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในการจัดทำฐานข้อมูลการเลี้ยงปลากะพงขาว ในกระชังบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งฉะเชิงเทรา, 2548.

บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด. การดำเนินการด้านการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูล 25 ลุ่มน้ำ และแบบจำลองน้ำท่วมน้ำแล้ง ลุ่มน้ำบางปะกง. กรุงเทพฯ: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน), 2555.

วรรณศิริ เดชะคุปต์ และ ทิวา ศุภจรรยา. ลักษณะทางกายภาพ และการใช้ที่ดินบริเวณปากแม่น้ำสำคัญในอ่าวไทย. วารสารภูมิศาสตร์, 2539, 21 (2), หน้า 33-42.

อังสนา ฉั่วสุวรรณ. ค่าความเป็นตัวนำไฟฟ้า (Electrical conductivity: EC). วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2547, 52 (164), หน้า 35-37.

Pritchard, D.V. Salinity distribution and circulation in the Chesapeake Bay estuarine system. Journal of Maine Research, 1952, 15, pp. 33–42.

Valle-Levinson A., W. R. Geyer, C. T. Friedrichs, D. Jay, R. J. Chant, C. Winant, S. G. Monismith, J. O'Donnell, J. Largier, L. Lucas. Contemporary issues in estuarine physics. Cambridge: Cambridge University Press, 2010.

FitzGerald, D., Georgiou, I. and Miner, M., Estuaries and Tidal Inlets. In Gerd Masselink, G., Gehrels, R. (ed.) Coastal Environments and Global Change, John Wiley & Sons. 2015.

แสงอรุณ เก้าเอี้ยน. เสถียรภาพและการเคลื่อนตัวด้านข้างของดินบริเวณตลิ่งท้ายเขื่อนทดน้ำบางปะกงในกรณีลดระดับน้ำอย่างรวดเร็ว. วิทยานิพนธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546.

UNESCO. The Practical Salinity Scale 1978 and the International Equation of State of Seawater 1980. UNESCO Technical Papers in Marine Science 36, 1981.

Millero, F. J. "What is PSU?". Oceanography, 1993, 6 (3) pp. 67.

Hillel, D. Salinity Management for Sustainable Irrigation: Integrating Science, Environment, and Economics, World Bank Publications, 2000.

USGS. What is saline water?, 2015. Available from: https://www.usgs.gov/special-topic/water-science-school/science/saline-water-and-salinity?qt-science_center_objects=0#qt-science_center_objects [Accessed 31 May 2020].