กำลังและความเหนียวของคานเหล็ก-คอนกรีตชนิดคอมโพสิตซึ่งมีปลายแบบยึดรั้ง ภายใต้น้ำหนักบรรทุกกระทำหลายรอบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
คานเหล็ก-คอนกรีตชนิดคอมโพสิตเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสะพาน เป็นโครงสร้างเชิงประกอบ (Composite structures) ที่ประกอบจากเหล็กรูปพรรณหรือเหล็กที่นำมาประกอบกับพื้นคอนกรีตยึดติดกันด้วยตัวยึดรับแรงเฉือน เพื่อให้ร่วมกันทำหน้าที่รับน้ำหนักบรรทุก ตามมาตรฐานการออกแบบ AISC และ AASHTO การทดสอบพบว่าน้ำหนักบรรทุกของคานเหล็ก-คอนกรีต ชนิดคอมโพสิตซึ่งมีปลายยึดรั้งที่มีพฤติกรรมเชิงประกอบแบบสมบูรณ์ มีค่าเฉลี่ยมากกว่าน้ำหนักบรรทุกกระทำเฉลี่ยของคานเหล็ก-คอนกรีต ชนิดคอมโพสิตซึ่งมีปลายยึดรั้งที่มีพฤติกรรมเชิงประกอบแบบบางส่วน 5.528 เปอร์เซ็นต์ สำหรับอัตราส่วนความเหนียวของคานเหล็ก-คอนกรีตชนิดคอมโพสิต ซึ่งมีปลายแบบยึดรั้งที่มีพฤติกรรมเชิงประกอบแบบสมบูรณ์ มีอัตราส่วนความสามารถในการเปลี่ยนรูปน้อยกว่าคานเหล็ก-คอนกรีตชนิดคอมโพสิต ซึ่งมีปลายแบบยึดรั้งที่มีพฤติกรรมเชิงประกอบแบบบางส่วน อัตราส่วนความเหนียว 12.636 เปอร์เซ็นต์ ในทางปฏิบัติคานสะพานควรออกแบบเป็นคานเหล็ก-คอนกรีตชนิดคอมโพสิตที่มีพฤติกรรมเชิงประกอบแบบสมบูรณ์เพราะจะมีกำลังสูงสุดมากกว่า ไม่เกิดการเคลื่อนตัวระหว่างผิวสัมผัสของแผ่นพื้นคอนกรีตกับเหล็กเสริมและมีความคงทนเพียงพอ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
References
[2] ACI 318-08 and ACI318M-08, Building Code Requirements for Structural Concrete, American Concrete Institute, Farmington Hills, MI., 2008
[3] AISC 303-10, Code of Standard Practice for Steel Buildings and Bridges, , American Institute of Steel Construction, Chicago, IL., 2010.
[4] Ernst, S., Bridge, R. Q., and Wheeler, A. Correlation of beam test with pushout tests in steel-concrete composite beams. Journal of structural Engineering,
2010, ASCE, 136(2) 183-192
[5] Galambos, T. V. Deformation and Energy Absorption Capacity of Steel Structures in the Inelastic Range, Steel Research and Construction, AISI, Bulletin No. 8,
Washington, DC, 1968.
[6] Loh, H. Y., Uy, B., and Bradford, M. A. (2004). The Effects of partial shear connection in the hogging moment regions of composite beams Part I-Experimental
study. Journal of Constructional Steel Research, 2004, 60(6), 897-919.
[7] Shiming Chen, Yuanlin Jia. Requried and available moment redistribution of continuous steel-concrete composite beams. Journal of Constructional Steel
Research, 2008, 64, 167-175.