การปรับปรุงคุณสมบัติด้านการรับแรงอัดและความคงทนของชั้นพื้นทาง ด้วยวัสดุจีโอโพลีเมอร์โดยใช้เถ้าชานอ้อยและเถ้าแกลบ

Main Article Content

อรรถพล พระโคตร
ดลฤดี หอมดี

บทคัดย่อ

ดินลมหอบในสภาพแห้งจะมีการสูญเสียค่ากำลังรับน้ำหนักมากและมีลักษณะการทรุดตัวจากการยุบตัวเมื่อมีปริมาณความชื้นในดินเพิ่มมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการศึกษาการปรับปรุงดินลมหอบด้วยวัสดุจีโอโพลีเมอร์ที่นำเถ้าชานอ้อยและเถ้าแกลบเป็นส่วนผสมในดิน โดยเทียบกับมาตรฐานดินซีเมนต์ชั้นพื้นทางของกรมทางหลวง ทล.-ม.204/2556 โดยการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดไร้ขอบเขต และการทดสอบความคงทนเปียกสลับแห้ง ในห้องปฏิบัติการ  ตัวอย่างถูกควบคุมบดอัดดินที่ 95 เปอร์เซนต์การบดอัดแบบสูงกว่ามาตรฐาน ด้วยปริมาณของเหลวที่เหมาะสม สำหรับวัสดุจีโอโพลีเมอร์ใช้อุณหภูมิในการบ่มร้อนที่ 70, 90 และ 110 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นเป็นการบ่มอุณหภูมิห้องปกติจนมีระยะบ่มรวม 2, 7 และ 28 วันตามลำดับ ใช้อัตราส่วนโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1:3 ซึ่งการทดสอบได้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกำลังแรงอัดและอายุบ่มของดินจีโอโพลีเมอร์ในแต่ละอุณหภูมิพบว่า ที่ระยะบ่ม 7 วัน ให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุด ในสัดส่วนผสม BA10RH5 ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิสูงขึ้น ให้ค่ากำลังรับแรงอัดสูงสุดในสัดส่วนผสม BA10 และมีค่ามากกว่าค่ากำลังรับแรงอัดของ SC5  ส่วนการทดสอบความคงทนวิธีเปียกสลับแห้งโดยเลือกดินจีโอโพลีเมอร์ BA10 ที่อุณหภูมิบ่ม 90 องศาเซลเซียส และ BA10RH5 ที่อุณหภูมิบ่ม 70 องศาเซลเซียส และดินซีเมนต์ SC5 มาเปรียบเทียบกัน ซึ่ง พบว่าร้อยละการสูญเสียน้ำหนักที่ของดินซีเมนต์ มีค่าเท่ากับ 11.06  ซึ่งมากกว่า  ดินจีโอโพลีเมอร์ BA10 ที่อุณหภูมิบ่ม 90 องศาเซลเซียส และ BA10RH5 ที่อุณหภูมิบ่ม 70 องศาเซลเซียส ที่มีค่าร้อยละการสูญเสียน้ำหนักเท่ากับ 4.57 และ 9.05 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสอดคล้องกับค่ากำลังรับแรงอัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธีระชาติ รื่นไกรฤกษ์ และสุเชษฐ์ เอี่ยมเชย. ความคงทนของดินซีเมนต์. กรุงเทพฯ: กองวิเคราะห์และวิจัย, กรมทางหลวง, 2532, 134.

กระทรวงอุตสาหกรรม. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ. มอก. 15 เล่ม 1-2555. สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2555.

อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์, วัสดุจีโอโพลิเมอร์ (Geopolymer), กรุงเทพฯ : สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2560.

มาตรฐานที่ ทล.-ม. 204/2556 มาตรฐานพื้นทางดินซีเมนต์ (Soil Cement Base), สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ, กรมทางหลวง, กระทรวงคมนาคม

ASTM Standard D559. Wetting and Drying Compacted Soil-Cement Mixtures. ASTM International, West Conshohocken, PA, 2003.

ปริญญา จินดาประเสริฐ, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. ปูนซีเมนต์ ปอซโชลาน และคอนกรีต, กรุงเทพฯ : สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2555.

อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์, ปริญญา จินดาประเสริฐ. เถ้าแกลบในงานคอนกรีต, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไซด์ แอนด์ เอ็นจีเนียริ่ง, 2552.

ปริญญา จินดาประเสริฐ. เถ้าลอยในงานคอนกรีต (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2548.

Chindaprasirt P, Rattanasak U, Taebuanhuad S. Resistance to acid and sulfate solutions of microwave-assisted high calcium fly ash geopolymer. Materials and Structure. 2013, 46 (3), 375-381.

Biswal, D.R., Sahoo, U.C., and Dash, S.R. (2019). Durability and shrinkage studies of cement stabilized granular lateritic soils. International Journal of Pavement Engineering, 20(12), 1451–62.