สมรรถนะการทำความเย็นของกล่องทำความเย็นเทอร์โมอิเล็กทริกที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทอร์โมอิเล็กทริกกับอุปกรณ์ทำความเย็นต่างๆ มากขึ้น เทอร์โมอิเล็กทริกมักใช้กับระบบทำความเย็นที่มีขนาดเล็กหรือใช้เก็บรักษาความเย็นในกล่องที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก งานวิจัยนี้ได้ศึกษากำลังไฟฟ้าที่ป้อนให้กับเทอร์โมอิเล็กทริกที่มีผลต่อสัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำความเย็น (COP) ในกล่องขนาดความจุ 17.5 L โดยไม่มีภาระการทำความเย็น ทดลองป้อนกำลังไฟฟ้าให้กับแผ่นเทอร์โมอิเล็กทริก TEC1-12715 ตั้งแต่ 19.3-74.1 W ที่อัตราการหมุนเวียนอากาศเย็นภายในกล่อง 32 cfm อัตราหมุนเวียนน้ำหล่อเย็นที่ด้านร้อนของเทอร์โมอิเล็กทริกคงที่ ที่ 90 L/h และมีการระบายความร้อนออกจากน้ำหล่อเย็นผ่านหม้อน้ำ ผลการศึกษาพบว่าค่า COP สูงสุดของการทำความเย็น เท่ากับ 0.53 มีอัตราการทำความเย็นที่ด้านเย็นของแผ่นเทอร์โมอิเล็กทริก (qc) 8.2 W ที่กำลังไฟฟ้าป้อนให้กับแผ่นเทอร์โมอิเล็กทริก 19.3 W และ qc สูงสุด 18.7 W เกิดขึ้นที่กำลังไฟฟ้าป้อน 74.1 W โดยค่า COP ของการทำความเย็นเท่ากับ 0.32 จะเห็นว่าค่าสูงสุดของกำลังไฟฟ้าที่ป้อนให้กับแผ่นเทอร์โมอิเล็กทริกไม่ได้ส่งผลให้ qc และ COP มีค่าสูงสุดไปพร้อมๆ กัน หากต้องการอัตราการทำความเย็นที่เหมาะสมกับกำลังไฟฟ้าที่ป้อน จะต้องป้อนกำลังไฟฟ้าให้แผ่นเทอร์โมอิเล็กทริกในช่วง 43.3-58.8 W ทำให้รักษาอุณหภูมิต่ำสุดในกล่องทำความเย็นไว้ที่ 2.0±0.5°C ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
References
[2] จิรประภา กิมสุนทร. การออกแบบจำนวนเทอร์โมอิเล็กทริกและขนาดของแหล่งระบายความร้อนเพื่อให้ทำงานร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ, คณะวิศวกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.
[3] Kabeel, A.E., Mousa, M.G., Abdelaziz, Moataz M., Sathyamurthy, Ravishankar., Abdelgaied, Mohamed.Performance of the novel design thermoelectric cooling system. Heat Transfer, 2020, pp. 1-19.
[4] Makadia, Jiten., Meghpara, Nirav., Pandya, Sanket. Enhancement in the COP of Thermoelectric Cooler Used for Cooling of Small Electronic Circuits. Journal of Refrigeration, Air Conditioning, Heating and Ventilation, 2019, 6 (3), pp. 20-23.
[5] ธีรเดช ภัทรวโรดม. กระติกเก็บวัคซีนขนาดเล็กโดยใช้เทอร์โมอิเล็กตริกโมดูล. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2552.
[6] ศาสตรา เพาะชนะ. การพัฒนากระเป๋าบรรจุเวชภัณฑ์ยาที่ทำความเย็นด้วยอุปกรณ์เธอร์โมอิเล็กทริก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีอุณหภาพ, คณะพลงังานสิ่งแวด
ล้อมและวัสดุ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2561.
[7] วีรชัย เลิศสถาพรสุข. การศึกษาความเป็นไปได้ของการนำเทอร์โมอิเล็กทริกมาใช้สำหรับระบบตู้แช่วัคซีนพลังงานแสงอาทิตย์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะพลังงานและวัสดุ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2543.
[8] Mainil, Afdhal Kurniawan., Aziz, Azridjal., Akmal, M. Portable Thermoelectric Cooler Box Performance with Variation of Input Power and Cooling Load. Aceh International Journal of Science and Technology, 2018, 7 (2), pp. 85-92.
[9] Mirmanto, M., Syahrul, S., Wirdan, Yusi. Experimental performances of a thermoelectric cooler box with thermoelectric position variations. Engineering Science and Technology, an International Journal 22, 2019, pp. 177-184.
[10] Gökçek, Murat and Sahin, Fatih. Experimental Performance Investigation of Minichannel Water Cooled-Thermoelectric Refrigerator. Case Studies in Thermal Engineering, 2017, pp. 54-62.
[11] Khodegaonkar, Dilip, Ameya., Patil, Madhav, Sudhir. Rapid Water Freezer Using Thermoelectric Module. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research (JETIR), 2019, 6 (5), pp. 422-428.
[12] Patel, Utkarsh., Panchal, Nisarg., Modi, Shivam., Bhasker, Parth., Parikh, Prof. Krunal. Fabrication and Analysis of Thermoelectric Cooling
System. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research (JETIR), 2019, 6 (4), pp. 332-336.