การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้วยหลักการบัญชีน้ำและแบบจำลอง WEAP ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน

Main Article Content

ปรียาพร โกษา
ธนัช สุขวิมลเสรี
ปวีณา ชุนเกาะ

บทคัดย่อ

ลุ่มน้ำลำตะคองเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำมูล ซึ่งเป็นลุ่มน้ำที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญในจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญอยู่ในลุ่มน้ำลำตะคอง และเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งในทุกปี แต่หน่วยงานราชการในพื้นที่ไม่ทราบว่าพื้นที่ใดบ้างที่ประสบภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำในช่วงเดือนไหนเป็นปริมาณเท่าไร มีปริมาณน้ำต้นทุนเท่าไร และมีความต้องการใช้น้ำในด้านเกษตรกรรมและด้านอุปโภค-บริโภคเท่าไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังขาดการจัดเก็บและการวิเคราะห์อย่างจริงจัง ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์หาพื้นที่ที่จะเสี่ยงภัยแล้งในรายตำบลและรายเดือนด้วยการจัดทำบัญชีน้ำ และพิจารณาสถานการณ์  ภัยแล้งรายตำบลและรายเดือนด้วยแบบจำลอง WEAP สำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทานในลุ่มน้ำลำตะคอง ผลการศึกษา พบว่า สำหรับบัญชีน้ำในภาพรวมของลุ่มน้ำลำตะคอง มีร้อยละปริมาณน้ำที่ถูกใช้ไปเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนสำหรับกรณีที่ 1 ถึง กรณีที่ 5 เท่ากับ 46.02%, 49.53%, 53.05%, 56.57% และ 60.09% ตามลำดับ ซึ่งยังมีปริมาณความต้องการใช้น้ำที่น้อยเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำฝนที่เข้ามาในลุ่มน้ำ จึงมีปริมาณน้ำที่ไหลออกจากลุ่มน้ำในกรณีที่ 1 ถึงกรณีที่ 5 เท่ากับ 2,887.39 , 2,699.18 , 2,510.97 , 2,322.76 และ 2,134.55 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ แบบจำลอง WEAP แสดงว่ามี 19 ตำบล, 21 ตำบล, 22 ตำบล, 24 ตำบล, และ 26 ตำบล สำหรับกรณีที่ 1 ถึง กรณีที่ 5 ตามลำดับ  ที่เข้าเกณฑ์เป็นพื้นที่ประสบภัยแล้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วิโรจน์ กิมาลา และเอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย. การประยุกต์ใช้แบบจําลอง SWAT สำหรับการจัดทำบัญชีน้ำในลุ่มน้ำเซโดน สปป.ลาว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2556, ปีที่ 2, ฉบับที่ 3, หน้า 66-81. แหล่งที่มา : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jstku/article/view/3347. [ 5 มีนาคม 2563]

วิโรจน์ กิมาลา และเอกสิทธิ์ โฆสิตสกุลชัย. การวิเคราะห์บัญชีน้ำของลุ่มน้ำเซโดน สปป.ลาว. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 18, เชียงใหม่, 8-10 พฤษภาคม 2566, หน้า 91-97.

Sa-nguansilp, C. Wijitkosum, S. and Sriprachote, A. Agricultural Drought Risk Assessment in Lam Ta kong Watershed, Thailand. International Journal of Geoinformatics, 2017, 13(4), pp.37-43. https://journals.sfu.ca/ijg/index.php/journal/article/view/1090

Wijitkosum S. (2018). Fuzzy AHP for Drought Risk Assessment in Lam Ta Kong Watershed, the North-eastern Region of Thailand. Soil & Water Research, 2018, 13(4), pp.218–225. https://doi.org/10.17221/158/2017-SWR

Uttaruk, Y. and Laosuwan, T. Drought Analysis Using Satellite-Based Data and Spectral Index in Upper Northeastern Thailand. Polish Journal of Environmental Studies, 2019, 28(6), pp.4447-4454. DOI: 10.15244/pjoes/94998

Khampeera, A. Yongchalermchai, C. and Techato, K. Drought Monitoring using Drought Indices and GIS Techniques in Kuan Kreng Peat Swamp, Southern Thailand. Walailak Journal of Science and Technology, 2018, 15(5), pp.357-370. DOI: https://doi.org/10.48048/wjst.2018.2723

Koem, C. Nusit, K. and Tantanee S. Spatial Distribution of Drought Hazard Mapping Based on AHP and GIS in Kampong Speu Province. Greater Mekong Subregion Academic and Research Network International Journal, 2022,16, pp.442-450. Available from: https://gmsarnjournal.com/home/wp-content/uploads/2022/01/vol16no4-15.pdf [Accessed 5 December 2021]

Noichaisin, L. Buranapratheprat, A. Manthachitra, V. and Intarawichian, N. Drought risk area assessment using GIS in Sa Kaeo Province, Thailand. International Journal of Agricultural Technology, 2020, 16(3), pp.655-666. Available from: https://www.thaiscience.info/view_content.asp?id=10992851.

Mongkolsawat, C. Thirangoon, P. Suwanwerakamtorn, R. Karladee, N. Paiboonsak, S. and Champathet, P. An Evaluation of Drought Risk Area in Northeast Thailand using Remotely Sensed Data and GIS. Asian Journal of Geoinformatics, 2001, 1(4), pp.33-44. Available from: http://202.28.94.77/research/i_journal/2544/1_An%20Evaluation%20of%20Drought%20Risk%20Area.pdf

Wattanakij, N. Thavornta, W. and Mongkolsawat, C. Analyzing Spatial Pattern of Drought in the Northeast of Thailand using Multi-Temporal Standardized Precipitation Index (SPI). Pro. ACRS, 2006, 1, pp.1221-1226. Available from: http://gis.kku.ac.th/research/i_proceed/2549/4_Analyzing_Spatial.pdf

Pandhumas, T. Kuntiyawichai, K. Jothityangkoon, C. and Suryadi, F.X. Assessment of climate change impacts on drought severity using SPI and SDI over the Lower Nam Phong River Basin, Thailand. Engineering and Applied Science Research, 2020, 47(3), pp.326-338. Available from: https://www.tci-thaijo.org/index.php/easr/index [Accessed 20 April 2020]

Tanguy, M. Eastman, M. Magee, E. Barker, L.J. Chitson, T. Ekkawatpanit, C. Goodwin, D. Hannaford, J. Holman, I. Pardthaisong, L.Parry, S. Vicario, D.R. and Visessri, S. Indicator-to-impact links to help improve agricultural drought preparedness in Thailand. Preprint egusphere, 2023, 308, pp.1-33. https://doi.org/10.5194/egusphere-2023-308

Kuntiyawichai, K. and Wongsasri, S. Assessment of Drought Severity and Vulnerability in the Lam Phaniang River Basin, Thailand. Water MDPI Journal, 2021, 13, 2743. https://doi.org/10.3390/w13192743

Lu, J. Carbone, G.J. Huang, X. Lackstrom, K. and Ga, P. Mapping the sensitivity of agriculture to drought and estimating the effect of irrigation in the United States, 1950-2016. Agricultural and Forest Meteorology, 292–293 (2020) 108124, pp.1-11. https://doi.org/10.1016/j.agrformet.2020.108124

สุประภาพ พัฒน์สิงหเสนีย์, จิรวัฒน์ ประชีพฉาย, กัลยาณี สุวรรณประเสริฐ, ธนัช สระประเทศ และจีรพงษ์ เหล่าน้ำใส. การบริหารจัดการภาวะภัยแล้งในพื้นที่นอกเขตชลประทานของประเทศไทย: กรณีศึกษา ตุลาคม 2562 ถึง เมษายน 2563. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร

วิโรฒ, ปีที่ 15, ฉบับที่ 3, กันยายน-ธันวาคม 2563, หน้า 54-64. แหล่งที่มา : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/sej/article/view/240864 [28 ธันวาคม 2563]