การวิเคราะห์แบบจำลองการเสริมกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้วยวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสโดยใช้ระบบโครงแกงแนง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์แบบจำลองการเสริมกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ด้วยวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสโดยใช้ระบบโครงแกงแนง โครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการศึกษาเป็นโครงข้อแข็งขนาดความกว้าง 4000 มิลลิเมตร และความสูง 3000 มิลลิเมตร ในการจำลองพฤติกรรมการเสริมกำลังด้วยวัสดุเสริมแรงไฟเบอร์กลาสโดยใช้ระบบโครงแกงแนงในการค้ำยันซึ่งประกอบด้วย 4 รูปแบบ ได้แก่ โครงแกงแนงรูปตัวเอกซ์ โครงแกงแนงรูปตัววี โครงแกงแนงรูปตัววีควํ่า และ โครงแกงแนงแบบทแยง โดยการประเมินสมรรถนะของโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กใช้วิธีสถิตศาสตร์ไม่เป็นเชิงเส้น จากผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการค้ำยันแบบ รูปตัวเอกซ์ ให้กำลังรับแรงที่ฐานสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับรูปแบบการค้ำยันแบบ รูปตัววี รูปตัววีควํ่า และ โครงแกงแนงแบบทแยง การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนระหว่างพื้นที่หน้าตัดของวัสดุในการค้ำยันโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ได้มีผลต่อกำลังรับแรงกระทำของโครงข้อแข็งคอนกรีตเสริมเหล็กที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นในการพิจารณาเลือกวัสดุเสริมคอนกรีตในหน้าตัดโดยใช้วัสดุเสริมหน้าตัดที่ต่ำที่สุดเพียงพอต่อการรับแรงแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี การใช้วัสดุเสริมเสริมแรงไฟเบอร์กลาสเสริมหน้าตัดเมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กข้ออ้อยสามารถนำมาใช้ทดแทนเหล็กข้ออ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
References
Meteorological Department, Earthquake Report in Thailand and Adjacent Areas in June 2017 Seismological Bureau, 2017. Available from :
https://earthquake.tmd.go.th/report/file/seismo-report-1504512433.pdf [Accessed 25 May 2023].
American Society of Civil Engineering , ASCE/SEI 41-23:2023. Seismic Evaluation and Retrofit of Existing Buildings . USA, 2013
Xu, S. and Niu, D. Seismic behavior of reinforced concrete braced frame. ACI Structural Journal, 2003, 100, pp. 120-125.
Khaloo, A.R. and Mahdi Mohseni, M. Nonlinear seismic behavior of RC frames with RC braces. Asian Journal of Civil Engineering, 2008, 9(6), pp. 577-592.
Desai, J.P. et al. Seismic response of R.C. braced frames. Computers and Structures, 2017,29(4), pp. 557-568.
Abou-Elfath, H. and Ghobarah, A. Behaviour of reinforced concrete frames rehabilitated with concentric steel bracing. Canadian
Journal of Civil Engineering, 2000, 27, pp. 433-444.
Maheri, M.R. et al. Pushover tests on steel X-braced and knee-braced RC frames. Engineering Structures, 2003, 25, pp. 1697–1705.
Ahiwale , D.D. et al. Seismic performance assessment of reinforced concrete frames with different bracing systems. Innovative Infrastructure
Solutions, 2023, 8, pp. 1–18
Poluraju, P. and Nageswara Rao, P.V.S. Pushover analysis of reinforced concrete frame structure using SAP 2000. International Journal
of Earth Sciences and Engineering, 2011, 4(6), pp. 684-690.
Hakim, R.A. et al. Application of Pushover Analysis for Evaluating Seismic Performance of RC Building. International Journal of
Engineering Research & Technology (IJERT), 2014, 3(1), pp. 1657–1662.
Milheiro, J. et al. Evaluation of The Contribution of Masonry Infill Panels on The Seismic Behavior of Two Existing Reinforced
Concrete Buildings. KSCE Journal of Civil Engineering, 2016, 20(4), pp. 1365–1374.
American Society for Testing and Materials. ASTM D7205-06:2006. Standard Test Method for Tensile Properties of Fiber Reinforced Polymer
Matrix Composite Bars. USA, 2013
Saeed, Y.M. Behavior of Prestressed Concrete Beams with CFRP Strands. Master Thesis, Portland State University, 2016.
Quayyum, S. Bond behaviour of fibre reinforced polymer (FRP) rebars in concrete. Master Thesis, The University of British Columbia, 2006.
Leeanansaksiri, A. et al. Seismic Capacity of Masonry Infilled RC Frame Strengthening with Expanded Metal Ferrocement.
Engineering Structures, 2018, 159, pp. 110-127.