Simulation of Estuarine Hydrological Characteristic: A Case Study of The Lower Chao Praya River

Main Article Content

ศิโรจน์ ศิริทรัพย์
ณัฐาภรณ์ แสงนิล
สายฝน ทมกระโทก

Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่จะศึกษาผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างน้ำท่าและน้ำขึ้น-น้ำลงที่มีต่อสภาพอุทกวิทยา (การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำและรูปแบบของกระแสน้ำ) ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างโดยการประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์  FVCOM (Finite Volume Coastal Ocean Model ) บริเวณพื้นที่ทำการศึกษาเริ่มตั้งแต่อำเภอบางไทร จังหวัดอยุธยาจนถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาในอ่าวไทย ทำการจำลองการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำและรูปแบบการไหลของน้ำในช่วงน้ำแล้งและช่วงน้ำหลากในปี พ.ศ. 2555  ผลการศึกษาพบว่าพิสัยของน้ำขึ้น-น้ำลง และระดับน้ำเฉลี่ยที่ได้จากการคำนวณมีค่าความคลาดเคลื่อนเทียบกับค่าตรวจวัดน้อยกว่า 10 เปอร์เซนต์โดยเฉลี่ย สภาพอุทกวิทยาในลำน้ำจำแนกได้เป็นสองลักษณะ ได้แก่ กรณีที่ 1 : สภาพอุทกวิทยาในลำน้ำของพื้นที่ศึกษาถูกควบคุมโดยสภาพน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นหลัก (tide dominated regime)  โดยระดับน้ำและรูปแบบของกระแสน้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพน้ำขึ้น-น้ำลงเป็นหลักแต่ค่าพิสัยน้ำมีขนาดลดลงตามระยะห่างจากปากแม่น้ำ และกระแสน้ำช่วงน้ำลงมีความเร็วมากกว่าช่วงน้ำขึ้น กรณีที่ 2: สภาพอุทกวิทยาในลำน้ำของพื้นที่ศึกษาถูกควบคุมโดยน้ำท่า (river dominated regime )   ลำน้ำแต่ละช่วงมีพฤติกรรมทางอุทกวิทยาแตกต่างกัน โดยระดับน้ำปานกลางบริเวณลำน้ำตอนบนยกระดับสูงขึ้นมากแต่พิสัยของน้ำจะแคบลง  ส่วนบริเวณใกล้ปากแม่น้ำนั้นระดับน้ำปานกลางยกระดับขึ้นเล็กน้อย การศึกษานี้ยังพบว่ากระแสน้ำบริเวณตอนกลางและบนของลำน้ำในช่วงน้ำหลาก (เหนือท่าเรือกรุงเทพขึ้นไปจนถึงอำเภอบางไทร) ไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำขึ้น-น้ำลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้กระแสน้ำมีทิศทางไหลสู่ปากแม่น้ำเพียงทิศทางเดียว ส่วนบริเวณใกล้ปากแม่น้ำมีสภาพของทิศทางของการไหลเปลี่ยนแปลงตามรอบน้ำขึ้น-น้ำลงแต่ความเร็วของกระแสน้ำทั้งฤดูน้ำแล้งและน้ำหลากมีแนวโน้มสูงขึ้นมากกว่าสภาพการไหลที่ไม่มีอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลงในลำน้ำที่นำมาเปรียบเทียบ

This study aims to investigate the interaction of tide and river flow for the lower Chao Phraya River through the Finite Volume Coastal Ocean Model (FVCOM). The study covers the period of the onset precipitation to the onset winter season in 2012. The model has been successfully validated with the observed data. We have found that the interaction results in two scenarios: tide dominated and river dominated regimes, depending on the river discharge volume. Besides, we also find that the tidal effects in the middle and upper section are insignificant during high river discharge period.

Article Details

Section
Research Articles