A STUDY OF BUILDING INFORMATION MODELING FOR CONSTRUCTION-DRAWING PRODUCTION

Main Article Content

ธนพร แก้วมีแสง
จิรวัฒน์ ดำริห์อนันต์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้และทัศนคติ รวมทั้งศึกษาหาปัจจัยการเลือกใช้งานแบบจำลองข้อมูลอาคาร (BIM) ของกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการทำแบบก่อสร้าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับปานกลาง กล่าวคือ มีความรู้ในระดับที่ทำให้ใช้งานได้และไม่มีทัศนคติที่ต่อต้าน โดยกลุ่มตัวอย่างทราบว่า BIM มีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการในการใช้งาน ด้านปัจจัยเห็นว่าหากผู้บริหารองค์กรเห็นความสำคัญและมีบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการถ่ายทอดความรู้ก็จะช่วยผลักดันให้เกิดการใช้งานในแต่ละองค์กรมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้ยังได้เปรียบเทียบวิธีปฏิบัติงานด้วย BIM กับวิธีปฏิบัติงานทั่วไปในระบบเดิม พบว่า BIM จะใช้จำนวนคำสั่งและระยะเวลาที่น้อยกว่า จากกรณีศึกษาบางกรณี การสร้างองค์ประกอบอาคารใช้เวลาน้อยสุดเพียงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของเวลาที่เคยใช้โดยวิธีปฏิบัติงานในระบบเดิม และในกรณีการแก้ไขแบบ ซอฟต์แวร์ในระบบ BIM จะแก้ไขแบบส่วนที่สัมพันธ์กันให้โดยอัตโนมัติทำให้ใช้เวลาน้อยสุดเพียงประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของเวลาปฏิบัติงานทั่วไป

The aims of this research are to focus on the knowledge and attitude, together with the key factors encouraging the involving personnel on construction-drawing production to use BIM.  The study found that most of the user’s knowledge and attitude about BIM are on a moderate level and the users are not against new technologies.  Though realizing that BIM has a lot of advantages, there are some limitations to use BIM.  As for the key factors, most people agree that if the management realizes the importance of the BIM, and if there are enough experienced users to share the knowledge within organizations, the chances of BIM being widely used will increase.  The comparison between BIM and the conventional style of construction-drawing production indicated that using BIM takes less commands and time.  Some case studies showed that BIM takes only 20% and 10% of the time comparing to the conventional method to create some building elements and to modify some elements in the drawings, respectively.  In the case of modifications, BIM helps the users update all related drawing automatically.

Article Details

Section
Research Articles