THE EFFECTS OF IMPROVEMENT OF WORKING CONDITION WITH RUSH STATE ON PRODUCTIVITY AND SAFETY: A CASE STUDY OF CONTAINER MANUAL HANDLING TASKS

Main Article Content

รวีวรรณ เอี่ยมอารีรัตน์
วรโชค ไชยวงศ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพและความปลอดภัย ในการปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยการจัดเรียงสินค้าน้ำหนักเบากว่า 23 กิโลกรัม เข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยแรงงานคนในสภาวะปกติและสภาวะเร่งทำงาน ซึ่งการปรับปรุงสภาพในการทำงานของงานวิจัยนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การปรับปรุงสภาพการทำงานให้เป็นสภาวะที่มีลม และส่วนที่ 2 การปรับปรุงสภาพการทำงานโดยนำโต๊ะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาท่าทางในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

ผลการวิจัยพบว่า ในส่วนที่ 1 เมื่อทำการปรับปรุงสภาพการทำงานให้เป็นสภาวะที่มีลม โดยตัวแปรที่ใช้ในการประเมินสภาวะความร้อน คือ ดัชนีอุณหภูมิกระเปาะดำเปียก (WBGT) ความเร็วลม และเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ (% RH) ทั้ง 3 ตัวแปรมีสภาวะที่ดีขึ้น และผลการวิจัยกับผู้ถูกทดลองทั้ง 6 คน พบว่าการทำงานที่สภาวะมีลมในระยะเวลาสั้น (5 นาที) ไม่ได้ส่งผลต่อผลิตภาพให้เพิ่มสูงขึ้น แต่ส่งผลต่อความปลอดภัย เนื่องจากทำให้อัตราการเต้นหัวใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หากแต่เมื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานจนถึงจุดๆหนึ่งแล้ว การปรับปรุงสภาพการทำงานให้มีลมนั้น ก็ไม่ได้ส่งผลต่อผลิตภาพให้เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน  นอกจากนี้เมื่อทำงานในสภาวะที่มีลมในระยะเวลาที่ยาวนาน (90 นาที) ณ ระดับความเร็วปกติ จะส่งผลให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่อัตราการเต้นของหัวใจไม่มีการเปลี่ยนแปลง และในส่วนที่ 2 พบว่า การปรับปรุงสภาพการทำงานโดยนำโต๊ะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาท่าทางในการทำงาน ส่งผลต่อด้านความปลอดภัยทำให้เปอร์เซ็นต์ท่าทางที่ไม่ปลอดภัยในการทำงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญแต่กลับส่งผลให้ผลิตภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากการปรับปรุงสภาพการทำงานทั้ง 2 ส่วน สามารถสรุปได้ว่า ถ้าต้องการเพิ่มผลิตภาพ งานยก ขนย้าย จัดเรียง โหลดที่น้ำหนักเบากว่า 23 กิโลกรัม ควรปรับสภาพการทำงานให้เป็นสภาวะที่มีลมแทนการเพิ่มความเร็วในการทำงาน ซึ่งการปรับปรุงสภาพการทำงานให้เป็นสภาวะมีลมยังส่งผลดีต่อความล้าในการทำงานของพนักงานให้สามารถทำงานด้วยระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นโดยผลิตภาพไม่ได้ลดต่ำลง และในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความปลอดภัยในระยะยาวควรปรับสภาพการทำงานโดยนำโต๊ะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาท่าทางในการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดกับร่างกายในระยะยาว

This research aims to study the effects of improvement of working condition with normal and rush state on productivity and safety in container manual handling tanks with lifting load that is less than 23 kg. The improvement of working condition in this research has 2 parts. Past 1st, the improvement of working condition was implemented with air’s flow condition. And part 2nd, the improvement of working condition was implemented with table for solving unsafe working posture.

The results in part 1st shown that when the working condition was implemented with air’s flow condition, WBGT, wind speed and %RH were improved to be better working condition. And Six male subjects participated in this study, the results indicated that the improvement of working condition with air’s flow in short term (5 minutes) were no significant difference in productivity but affected on safety (the decreasing of heart rate and Δ HR) significantly. Furthermore, the increasing of performance rating with implementing air’s flow condition did not effect to get higher productivity. In addition, the improvement of working condition with air’s flow on normal state in long term (90 minutes) affected on getting higher productivity and did not change in heart rate. In part 2nd, results shown that the improvement of working condition with table for solving unsafe posture affected on the decreasing of productivity and unsafety (percentage of unsafe working posture) significantly. Therefore, the working condition improvement in 2 parts indicate if want to increase productivity, should implement working condition with air flow rather than increase performance rating. Moreover, the improvement of working condition with air flow can reduce fatigue of workers and let them can work in longer time. For the effect on safety in long term should implement table for solving unsafe working posture in order to reduce hazards and risks.

Article Details

Section
Research Articles