INLAND TRANSPORT ROUTES MODIFICATION FOR MANGO EXPORT

Main Article Content

ศักรธร บุญทวียุวัฒน์

Abstract

การส่งออกผลไม้ต้องคำนึงถึงการวางแผนการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากผลไม้เป็นสินค้าที่เน่าเสียง่ายและมีระยะเวลาในการเก็บรักษาจำกัด ผู้ส่งออกต้องขนส่งผลไม้ไปยังลูกค้าให้ตรงเวลาเพื่อรักษาคุณภาพของผลไม้เป็นหลักขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมต้นทุนการขนส่งตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามเมื่อฤดูกาลส่งออกผลไม้มาถึง ต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการขนส่งจะสูงขึ้นมากกว่าปกติเนื่องจากเกิดความต้องการในการขนส่งผลไม้เพื่อการส่งออกเป็นจำนวนมาก  ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือหลักที่ใช้ในการส่งออกผลไม้ในปัจจุบันจะมีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่หนาแน่นมากขึ้นก่อให้เกิดความล่าช้าในการส่งออก  บทความนี้เสนอชุดเส้นทางการขนส่งใหม่ของมะม่วงเพื่อลดต้นทุนและเวลาในการขนส่ง  ผลที่ได้จากแบบจำลองพบว่าชุดเส้นทางการขนส่งใหม่สามารถประหยัดต้นทุนและเวลาในการขนส่งได้ 20.81% และ 30.37% ตามลำดับ

The fruits export needs to consider the efficient transport planning due to the fruits are the easily decay commodity and have the limited time for storage therefore the exporters need to dispatch the fruits to the customers on time to mainly preserve the fruits’qualities whilst controlling transport cost is also needed simultaneously. Nonetheless, when the fruits export season arrives, the transport cost and time are much higher due to there are much more demands on fruits transport for export. Laem Chabang port, the current main fruit export port, will have more dense on container throughput as a result to a delay on fruits export.  This paper presents the new routes set of mango to minimize the transport cost and time. The result derived from the model shows the new set of routes can save transport cost and time at 20.81% and 30.37% respectively.

Article Details

Section
Research Articles