SEISMIC RESPONSE ANALYSIS BY APPROXIMATE METHOD FOR SERVICEABILITY ASSESSMENT OF BUILDING

Main Article Content

พีระพัฒน์ บุญธรรม
นคร ภู่วโรดม

Abstract

บทความนี้นำเสนอวิธีการวิเคราะห์โดยประมาณสำหรับการตรวจสอบความเหมาะสมด้านการใช้งานของอาคารภายใต้แผ่นดินไหว วิธีการประมาณนี้ใช้ค่าอัตราส่วนของสติฟเนส แบบเฉือนต่อแบบดัด (\inline \alpha _{0}) และค่าคาบการสั่นพื้นฐานของอาคารเป็นข้อมูลเริ่มต้น การศึกษาแสดงขั้นตอนของวิธีและเสนอค่า \inline \alpha _{0} เพื่อใช้งานสำหรับอาคารตัวอย่าง 4 หลัง ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติเชิงพลศาสตร์ของอาคารตัวอย่างพบว่ามีความสอดคล้องดีกับผลจากแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์โดยเฉพาะในโหมดต่ำและสำหรับอาคารสูง จากนั้นได้ทำการสร้างคลื่นแผ่นดินไหวจำลองที่เหมาะสมกับพื้นที่รุงเทพมหานครเพื่อใช้วิเคราะห์ผลตอบสนองของอาคารและพบว่า วิธีการประมาณให้ผลที่ค่อนข้างถูกต้องเมื่อเทียบกับผลจากวิธีวิเคราะห์การตอบสนองแบบประวัติเวลา โดยมีความแตกต่างประมาณ 5% สำหรับค่าการเสียรูปที่ชั้นบนสุดและ 15% สำหรับค่าความเร่งสูงสุดที่ชั้นบนสุด 

An alternative of approximate seismic analysis for serviceability design of buildings is investigated in this paper.  The approximate analysis requires mainly information of the ratio of shear and bending stiffness (\inline \alpha _{0}), and fundamental period of the building.  This paper applied the technique to 4 buildings to explain the procedures and propose the value of \inline \alpha _{0}parameter.  The results of the approximate dynamic properties of the buildings were in agreement with the results from finite element model, especially for lower modes and tall buildings.  The simulated ground motions appropriate for Bangkok were used for seismic response analysis of the buildings.  The approximate analysis could yield satisfactory result comparing with the result from linear response history analysis.  The different were about 5% for the maximum roof displacement and 15% for the maximum roof acceleration.

Article Details

Section
Research Articles