การลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางในการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียจากปัญหารอยแตกบริเวณขอบยางในกระบวนการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายกับยางรุ่นตัวอย่างเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 4 ล้านบาทต่อปี โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ระบบ การวัดทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณในการประเมินความสามารถของพนักงานตรวจสอบ ศึกษาสภาพของปัญหาในกระบวนการผลิต พิสูจน์สาเหตุของปัญหาโดยใช้วิธีการทางสถิติ และใช้การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบ็ห์นเคน โดยพิจารณา 3 ปัจจัย 3 ระดับ ในการหาค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัยเพื่อลดความสูญเสียจากปัญหารอยแตก ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุของการเกิดรอยแตกบริเวณขอบของยางล้อรถจักรยานยนต์รุ่นตัวอย่างมีสามประการ คือ ขนาดของแบบยางก่อนการขึ้นรูป ปริมาณเนื้อยางบริเวณขอบยาง และแรงดันไอน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปแบบยางในกระบวนการอบยาง หลังจากการทดลองและปรับปรุงมาตรฐานเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต พบว่าสามารถลดสัดส่วนและควบคุมการเกิดปัญหารอยแตกบริเวณขอบยางของยางล้อรุ่นตัวอย่างจากเฉลี่ย 7.23% ต่อเดือนให้เหลือ 1.06% ต่อเดือนโดยเฉลี่ย สามารถลดความสูญเสียได้มากกว่า 2.9 แสนบาทต่อเดือน หรือมากกว่า 3 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 85% ของมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์