ผลของจำนวนแผ่นกั้นที่มีต่อการบำบัดน้ำเสียโรงงานยางข้นโดยใช้ระบบเอบีอาร์

Main Article Content

นิรมล กรีอารีย์
ชวลิต รัตนธรรมสกุล

บทคัดย่อ

น้ำเสียที่เกิดจากโรงงานยางข้นมีการปนเปื้อนสารเคมีต่างๆ มากมาย เช่น ซัลเฟตที่เกิดจากการเติมกรดซัลฟิวริกในกระบวนการผลิต เพื่อให้เนื้อยางจับตัวกันเป็นก้อน ทำให้น้ำเสียที่เกิดขึ้นมีความเป็นกรดสูง ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลพิษทางน้ำ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงจำนวนแผ่นกั้นหรือจำนวนห้องในถังปฏิกรณ์และอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่มีต่อการบำบัดน้ำเสียโรงงานยางข้น โดยใช้ระบบเอบีอาร์ ในงานวิจัยใช้จำนวนแผ่นกั้นต่างกันดังนี้ 3, 5 และ 7 แผ่นกั้น กำหนดอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์คงที่เท่ากับ 3 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตร-วัน โดยใช้ระยะเวลากักพักชลศาสตร์ (HRT) เท่ากับ 5 วัน พบว่า ระบบเอบีอาร์ 7 แผ่นกั้นมีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีสูงสุดคือ 80.36 % รองลงมาคือ 5 แผ่นกั้น 78.40 % และ 3 แผ่นกั้น 75.14 % เมื่อทำการศีกษาประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอย ระบบเอบีอาร์ 7 แผ่นกั้นมีประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยได้สูงสุด คือ 87.18 % รองลงมาคือ 3 แผ่นกั้น 86.05 % และ 5 แผ่นกั้น 82.29 % และการกำจัดซัลเฟต พบว่าระบบเอบีอาร์ 3 แผ่นกั้น 5 แผ่นกั้น และ 7 แผ่นกั้น มีประสิทธิภาพการกำจัดซัลเฟตใกล้เคียงกันคือ 98.19 %,  98.42 % และ 99.50 % (ตามลำดับ)

Article Details

บท
บทความวิจัย