การประเมินความเสี่ยงของอาคารภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากแรงกระทำของแผ่นดินไหวในระยะไกล
Main Article Content
บทคัดย่อ
พฤติกรรมการสั่นของชั้นดินเหนียวอ่อนกรุงเทพฯ ได้ถูกศึกษาภายใต้สมมุติฐานการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ณ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ การศึกษาดำเนินการในเชิงพื้นที่โดยจำกัดการศึกษาบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ข้อมูลหลุมสำรวจดินในพื้นที่ศึกษาได้ถูกรวบรวมและวิเคราะห์การวางตัวของชั้นดินเชิงพื้นที่ โดยวิเคราะห์ด้วยวิธี Kriging จากนั้นจึงสรุปขอบเขตพื้นที่ย่อยภายในพื้นที่ศึกษา ตามลักษณะความแปรปรวนของชั้นดิน ข้อมูลจากการทดสอบความเร็วคลื่นแรงเฉือน (Shear Wave Velocity) จากการทดสอบ Spectral Analysis of Surface Wave (SASW) ได้นำมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการสั่นของชั้นดิน โดยดำเนินการวิเคราะห์ในลักษณะ 1 มิติ ตามพื้นที่ย่อยต่าง ๆ Response Spectrum Curve จากการวิเคราะห์ได้ถูกนำมาเป็นตัวกำหนดความสูงของอาคารที่มีความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ ข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนำมาวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เพื่อให้คะแนนความเสี่ยงของอาคาร สุดท้ายจึงได้แผนที่ความเสี่ยงของอาคารภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริกเตอร์ ณ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์