การพัฒนาวิธีการทดสอบการเสื่อมสภาพของคอนกรีตด้วยรังสีอินฟราเรดแบบใกล้

Main Article Content

รักติพงษ์ สหมิตรมงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้อธิบายการพัฒนาวิธีการฉายรังสีอินฟราเรดแบบใกล้ (Near-Infrared, hereinafter NIR) เพื่อทดสอบองค์ประกอบทางเคมีของคอนกรีตเพื่อที่จะช่วยให้สามารถตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีของโครงสร้างที่เสื่อมสภาพได้โดยที่ไม่ต้องทำการเจาะเก็บตัวอย่างทดสอบปริมาณมาก โดยการทดสอบขั้นแรก ใช้เครื่องแยกรังสีอินฟราเรดแบบใกล้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของสารที่ทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพหรือสารที่เกี่ยวข้อง เช่น คลอไรด์, แคลเซียมไฮดรอกไซด์, และซัลเฟต ต่อการสะท้อนหรือดูดซับรังสีอินฟราเรดที่ความยาวคลื่นต่างๆ ในตัวอย่างทดสอบที่เป็นซีเมนต์เพสต์ โดยพบว่าความเข้มข้นขององค์ประกอบต่างๆของซีเมนต์เพสต์นั้นมีความสัมพันธ์เชิงเส้นกับอนุพันธ์อันดับที่สองของอัตราการดูดซับรังสีอินฟราเรดที่ความยาวคลื่นเฉพาะขององค์ประกอบนั้นๆ โดยความรู้ดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบ  Near-Infrared Spectral Imaging System เพื่อทดสอบหาการกระจายตัวของสารต่างๆบนผิวคอนกรีตที่เป็นสองมิติ โดยผลการทดสอบการกระจายตัวดังกล่าวให้ผลที่ใกล้เคียงกับผลการทดสอบด้วย EPMA Analysis แต่มีความยุ่งยากในการปฏิบัติน้อยกว่ามาก

Article Details

บท
บทความวิจัย