การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนสะสมกับระยะเวลาดินพังทลายบนแบบจำลองลาดเอียงทางกายภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝนสะสมกับระยะเวลาดินพังทลายบนแบบจำลองลาดเอียงทางกายภาพโดยเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่ที่เคยดินพังทลายนำมาทดสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของมวลดินจำนวน 2 ชนิดและจำลองปริมาณน้ำฝนจากงานวิจัยที่ผ่านมาที่มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน ส่งผลให้ดินพังทลายบนลาดเอียงและกำหนดแบบจำลองความลาดเอียง 2 ลักษณะ ใช้ระยะเวลา 160 ชั่วโมงต่อลาดเอียง เพื่อศึกษารูปแบบการทรุดตัวสะสมและความยาวรอยแตกสะสม จากผลศึกษาคุณสมบัติพื้นฐานทางวิศวกรรมของตัวอย่างดินสามารถจำแนกดินโดยวิธี USCS เป็นดินประเภท SM จากผลศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อปริมาณน้ำฝนสะสมถึงช่วงระยะเวลา 48 ชั่วโมงจะทำให้ลาดเอียงทั้งสองจะเกิดการทรุดตัวก่อนและเกิดรอยแตกขึ้นตามมาและพบว่าเมื่อมุมลาดเอียงเพิ่มขึ้นดินที่มีความสามารถซึมได้ของน้ำต่ำจะเริ่มเกิดการทรุดตัวอย่างฉับพลันและขณะที่ลาดเอียงต่ำๆเมื่อระยะเวลาผ่านไปนานๆดินจะเกิดการทรุดตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและมากที่สุด และจากการศึกษาความยาวรอยแตกสะสมซึ่งจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าดินที่มีความสามารถซึมได้ของน้ำสูงเมื่อลาดเอียงเพิ่มขึ้นปรากฏความยาวรอยแตกสะสมมากที่สุด ในขณะเดียวกันดินที่มีความสามารถซึมได้ของน้ำต่ำควรมีการเฝ้าระวังและต้องหาวิธีป้องกันซึ่งยังปรากฏความยาวรอยแตกสะสมอย่างต่อเนื่องจนครบเวลาทดสอบ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์