การศึกษาพฤติกรรมการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ชวลิต นรสาร
อุมา สีบุญเรือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครของผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มวัยที่จะก้าวเข้าสู่ผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปี จนถึง 60 ปี โดยทำการสำรวจข้อมูลภาคสนาม จำนวน 204 ตัวอย่าง นำมาใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยพิจารณาจากค่า X2 เท่ากับ 72.331 ที่ df เท่ากับ 58 ค่า X2 /df เท่ากับ 1.247 ค่า CMIN-p เท่ากับ 0.098 ค่า GFI เท่ากับ 0.955 ค่า TLI เท่ากับ 0.993 ค่า CFI เท่ากับ 0.996 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.035 และค่า SRMR เท่ากับ 0.021 พบว่าแบบจำลองมีความสอดคล้องกันดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินคุณภาพของระบบขนส่งสาธารณะ ได้แก่ สภาพความสมบูรณ์ของรถ การให้บริการของพนักงาน ตารางเวลาเดินรถ และลักษณะทางกายภาพของสถานีขนส่ง พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการประเมินคุณภาพของระบบขนส่งสาธารณะมากที่สุด คือ ลักษณะทางกายภาพของสถานีขนส่ง เพราะมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดเท่ากับ 0.914 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งได้แก่ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ มีอาคารที่พักเพียงพอ มีห้องน้ำเพียงพอและสะอาด รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ ผลการศึกษานี้เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและกำหนดนโยบายให้เกิดความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และสามารถแก้ปัญหาในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะในปัจจุบันที่เป็นอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับความจำเป็นของผู้สูงวัย

Article Details

บท
บทความวิจัย