การเปรียบเทียบอัตราการระบายรถยนต์ผ่านด่านเก็บค่าผ่านทาง

Main Article Content

พลเทพ เลิศวรวนิช

บทคัดย่อ

การจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้าและลดระดับการให้บริการแก่ผู้ใช้ทางโดยเฉพาะรูปแบบการเก็บค่าผ่านทางแบบเงินสด แนวคิดหนึ่งที่มีการนำเสนอขึ้นมาทดแทนรูปแบบบริการแบบปัจจุบันที่ตู้เก็บค่าผ่านให้บริการรถยนต์ทีละหนึ่งคัน (Single Service) คือการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่เก็บค่าผ่านทางที่หน้าตู้เก็บค่าผ่านทาง เพื่อเพิ่มจำนวนรถยนต์ที่ได้รับบริการในคราวเดียวกัน เมื่อรถยนต์เหล่านี้ได้รับบริการแล้วเสร็จจึงให้เคลื่อนที่ผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางไปด้วยกันและรถยนต์กลุ่มถัดไปจึงเคลื่อนที่เข้ามาเพื่อชำระค่าผ่านทางต่อไป (Tandem Service) บทความนี้ขอนำเสนอแนวคิดการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราการระบายรถยนต์ผ่านด่านเก็บค่าผ่านทางทั้งสองรูปแบบโดยใช้หลักวิศวกรรมจราจรและสถิติในการพิจารณา ซึ่งถ้าประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่เก็บค่าผ่านทางทั้งสองรูปแบบไม่แตกต่างกันจะพบว่า Tandem Service จะให้อัตราการระบายรถยนต์ได้สูงกว่า Single Service

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] A Policy on Geometric Design of Highways and Streets, 2018. AASHTO, Washington, D.C.
[2] Findley, D. J., Schroeder, B. J., Cunningham, C. M., and Brown, 2016. T. H. Highway Engineering: Planning, Design, and Operations. Butterworth-Heinemann.
[3] Mannering, F. L., and Washburn, S. S., 2013. Principles of Highway Engineering and Traffic Analysis:5th Edition. John Wiley and Sons.
[4] Hall, R. W., and Daganzo, C. F., 1983. Tandem Toll Booths for the Golden Gate Bridge, Transportation Research Record, Vol. 905, pp. 7-14, Washington, D.C.
[5] Gu, W., Cassidy, M. J., and Li, Y., 2012. On the Capacity of Highway Checkpoints: Models for Unconventional Configurations. Transportation Research Part B: Methodology, Vol. 46, pp. 1308-1321