การปรับปรุงดินลมหอบด้วยวัสดุจีโอพอลิเมอร์โดยใช้เถ้าปาล์มน้ำมันและตะกรันเตาถลุงเหล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานที่นำดินลมหอบมาปรับปรุงด้วยวัสดุจีโอพอลิเมอร์ในการทำถนนชั้นพื้นทาง โดยใช้เถ้าปาล์มน้ำมันและตะกรันเตาถลุงเหล็ก เทียบกับดินซีเมนต์ โดยพิจารณากำลังรับแรงอัดแกนเดียว และทดสอบความคงทนเปียกสลับแห้ง อัตราส่วนผสมซีเมนต์ 5 7 9 และ 11 % โดยมวลดินแห้ง ระยะการบ่ม 2 7 และ28 วัน ที่อุณหภูมิห้อง วัสดุจีโอพอลิเมอร์ใช้อัตราส่วนผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน 5 และ 10 เปอร์เซ็นต์โดยมวลดินแห้ง และอัตราส่วนเถ้าปาล์มน้ำมันผสมกับตะกรันเตาถลุงเหล็ก 5 กับ 3 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ 10 โมลาร์ ที่มีอัตราส่วนโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1:3 ระยะเวลาบ่มร้อน 1 วันที่อุณหภูมิ 70 90 และ110 องศาเซลเซียส และบ่มต่อที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 2 7 และ 28 วัน การศึกษาพบว่าในอัตราส่วนที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันกับตะกรันเตาถลุงเหล็กเทียบกับอัตราส่วนที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันเพียงอย่างเดียว ระยะเวลาบ่ม 28 วัน พบว่ามีค่ากำลังรับแรงอัดสูงกว่าร้อยละ 2.8 ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลาบ่ม 28 วัน และมีกำลังรับแรงอัดสูงกว่าดินซีเมนต์ในอัตราส่วนผสม 5 เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ 11.7 เมื่อทำการทดสอบความคงทนเปียกสลับแห้งพบว่าในอัตราส่วนที่ผสมตะกรันเตาถลุงเหล็กพบว่ามีค่าการสูญเสียน้ำหนักมากกว่าเล็กน้อยในอัตราส่วนที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันเพียงอย่างเดียวร้อยละ 0.3 และมีการสูญเสียมวลน้อยกว่าดินซีเมนต์ ในอัตราส่วนผสม 5 เปอร์เซ็นต์ มีค่าร้อยละ 3.1
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
References
กรมทางหลวง. มาตรฐานที่ ทล.-ม. 204/2556. มาตรฐานพื้นทางดินซีเมนต์ (Soil cement Base). สำนักวิเคราะห์
และตรวจสอบกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม, 2556.
ธีระชาติ รื่นไกรฤกษ์, สุเชษฐ์ เอี่ยมเชย. ความคงทนของดินซีเมนต์. รายงานฉบับที่ วว. 120 กองวิเคราะห์และวิจัยกรมทางหลวง, 2532.
พัชราภรณ์ ธรรมบำรุง. การศึกษาคุณสมบัติของจีโอพอลิเมอร์ที่เตรียมจากดินขาว เถ้าปาล์ม และของเสีย กากขี้แป้ง. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2558.
อุบลลักษณ์ รัตนศักดิ์. วัสดุจีโอโพลิเมอร์. กรุงเทพฯ : สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 2560.
Salih, M. A., Farzadnia, N., Abang Ali, A. A., and Demirboga, R. Effect of different curing temperatures on alkali activated palm oil fuel ash paste. Construction and Building Materials, 2015, 94, pp.116–125.
Kubba, Z. et al. Impact of Curing Temperatures and Alkaline Activators on Compressive Strength and Porosity of Ternary Blended Geopolymer Mortars. Case Studies in Construction Materials, 2018, 9, e00205.
Ameri, F., Parham, S., Seyed, A.Z., and Babak, B.Geopolymers vs. Alkali-Activated Materials (AAMs):A Comparative Study on Durability, Microstructure, and Resistance to Elevated Temperatures of Lightweight Mortars.Construction and Building Materials, 2019, 222 (20), pp.49–63.
American Society for Testing and Materials.ASTM Standard D559 Wetting and Drying Compacted Soil-Cement Mixtures. ASTM International, West Conshohocken, PA, 2003.
American Society for Testing and Materials.ASTM C 618-03 Standard Specification for Coal Fly Ash and Raw Calcined Natural Pozzolan for use Mineral Admixture in Portland Cement Concrete. [n.p.]: Annual Book of ASTM Standard, 1997.