ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อการเกิดฝนตกหนักใน อ.ปง และ อ.เชียงคำ จ.พะเยา

Main Article Content

ธนกฤต เทพอุโมงค์
ปิยะพงษ์ จันทร์กาวี
ธนกร ชมภูรัตน์
ปรีดา ไชยมหาวัน
สมบูรณ์ เซี่ยงฉิน

บทคัดย่อ

 


ปัจจุบันมนุษย์ต้องเผชิญปัญหาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน อันเนื่องมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ซึ่งส่งผลให้เกิด
ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หนึ่งในผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกนั้น คือ เหตุการณ์เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ทั่วโลก สำหรับทางตอนเหนือของประเทศไทยก็ประสบ
กับเหตุการณ์ฝนตกหนักเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในปี
2010 อ.ปง และ อ.เชียงคำ จ.พะเยา เกิดฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน
จนทำให้เกิดภัยพิบัติดินถล่ม สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อการเกิดฝนตกหนักใน อ.ปง และ อ.เชียงคำ จ.พะเยา การศึกษานี้ใช้แบบจำลอง
สภาพภูมิอากาศโลกที่สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคตในรูปแบบฝนรายวันได้ แล้วทำการย่อส่วนแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลกโดยวิธีการย่อส่วนทางสถิติ จากนั้นนำผลที่ได้มาคาดการณ์การเกิดฝนตกหนัก โดยเทียบกับข้อมูล
การตรวจวัดจริงในอดีตจากสถานีวัดน้ำฝน
ผลจากการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่า อ.ปง ผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ทำให้มีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากอดีตประมาณ
8.0% - 30% ในช่วงปี 2012 - 2098 และ อ.เชียงคำ เพิ่มขึ้นจากอดีตประมาณ
9.0% - 35.0% ในช่วงปี 2011 - 2099 สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ของปริมาณน้ำฝนในอนาคตที่ได้จากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก
สามารถนำไปใช้ในการเฝ้าระวังการเกิดอุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ที่ศึกษาต่อไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรุงเทพธุรกิจ. (2562). ประชุมโลกร้อน ความพยายาม 27 ปีที่สูญเปล่า. สืบค้น 13 มีนาคม 2563,จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/856912
[2] กรมทรัพยากรธรณี. (2553). รายงานสถานการณ์ธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี พ.ศ. 2553. สืบค้น 13 มกราคม 2563, จาก http://www.dmr.go.th/ewt_news.
[3] กรมทรัพยากรธณี. (2554). แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน จังหวัดพะเยา. สืบค้น 13 มกราคม 2563, จาก http://www.dmr.go.th/n_more_news.
[4] อัศมน ลิ่มสกุล. (2558). การจำลองภูมิอากาศในอนาคตและข้อมูลคาดการณ์ภูมิอากาศความละเอียดสูงสำหรับประเทศไทย. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2553 , จาก https://www.researchgate.net
[5] จิรสรณ์ สันติสิริสมบูรณ์ และเจียมใจ เครือสุวรรณ. (2554). ภาพจำลองภูมิอากาศโลกและภูมิอากาศอนาคต. การสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
[6] ไซนูน ไทยเจริญ ธนิต เฉลิมยานนท์ และ ธนันท์ ชุบอุปการ (8-10 สิงหาคม 2558). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อการเกิดดินถล่มใน ต.เทพราช อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 20. จ.ชลบุรี : วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.
[7] กัณฑรีย์ บุญประกอบ. (2553). การสร้างภาพจำลองของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทยโดยการย่อส่วนแบบจำลองสภาพภูมิอากาศโลก. การสังเคราะห์และประมวลสถานภาพองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
[8] สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปง. ประวัติความเป็นมา. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://district.cdd.go.th/
[9] รวมพลคนฮักเจียงคำ. ประวัติอำเภอเชียงคำ. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttp://www.hugchiangkham.com/
[10] กรมอุตุนิยมวิทยา. (2562). ภูมิอากาศจังหวัดพะเยา. สืบค้น 17 มีนาคม 2563, จากhttp://climate.tmd.go.th/data/province.
[11] รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2020). นักวิทยาศาสตร์สร้างแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร?. สืบค้น 17 มีนาคม 2563, จาก .://www.salforest.com/blog/climate-model-rcp-ssp.
[12] Chistel Prudhomme, Nick Reynard and Sue Crooks. (2002). Downscaling of global climate models for Flood frequency analysis: Whewe we are niw?. www.interscience.wiley.com ID 10..1002/hyp.1054Coulomb. C.A.1776. Essaisurune application desreglesdes maximiset minimis a quelquels problemesde statique relatifs.
[13] Wilby et al. (2010). Scenario-neutral approach to climate change impact studies: Application to flood risk DOI: https://doi.org/10.1016/j.jhydrol.2010.06.043
[14] D. R. Easterling et. al. (2000). Observed Variability and Trends in Extreme Climate Events: A Brief Review DOI: http://dx.doi.org/10.1175/1520-0477(2000)081<0417:OVATIE>2.3.CO;2
[15] Manton, M.J. et.at. (2001). Trends in extreme daily rainfall and temperature in Southeast Asia and the South Pacific: 1961-1998 International Journal of Climatology. vol. 21. Issue 3.
[16] Nobuhiko Endo, Jun Mastsumoto and Tun Lwin. (2009). Trends in Precipitation Extremes over Southeast Asia. SOLA, 2009, Vol. 5, 168-171, DOI: 10.2151/sola.2009-043
[17] Ravindra V. Kale and Bhabagrahi Sahoo. (2011). Green-Anpt Infiltration Models for Varied Field Condition: A Revisit Water Resources Management. Article First Online: 12 July 2011 DOI: 10.1007/s11269-011-9868-0