การศึกษาความแปรปรวนของบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ตามฤดูกาลในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลจีพีเอสในช่วงปี 2566
Main Article Content
บทคัดย่อ
ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศของโลกที่มีความสำคัญต่อการสื่อสาร และการระบุพิกัดตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม GNSS (Global Navigation Satellite System) เนื่องจากอิเล็กตรอนอิสระในชั้นบรรยากาศนี้มีผลกระทบต่อการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุ ทำให้เกิดการบิดเบือนหรือการสูญเสียสัญญาณได้ การศึกษาความแปรปรวนของชั้นไอโอโนสเฟียร์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบสื่อสารและการสำรวจและทำแผนที่ด้วยระบบดาวเทียม GNSS ในงานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ในพื้นที่ประเทศไทย จากข้อมูล GNSS ในปี 2566 จากโครงข่ายสถานีฐานอ้างอิงพิกัดแบบต่อเนื่อง (Continuously Operating Reference Station, CORS) จำนวน 12 สถานีจากหน่วยงานกรมแผนที่ทหาร ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าความแปรปรวนของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับภูมิภาคของประเทศและฤดูกาล พบว่าความแปรปรวนของปริมาณอิเล็กตรอนรวมทั้งหมด (Total Electron Content, TEC) และดัชนีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอิเล็กตรอนทั้งหมด (Rate of Total Electron Content index, ROTI) เกิดขึ้นมากที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศและเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงฤดูร้อน และช่วงเวลาที่เกิดความแปรปรวนของค่า ROTI มากที่สุดมักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลา 19.00-23.00 น. ซึ่งผลของการศึกษาวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการระบุช่วงเวลาที่มีความแปรปรวนในระดับต่าง ๆ ของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ในประเทศไทยและเพื่อศึกษาถึงผลกระทบต่อความแม่นยำในการระบุพิกัดตำแหน่งด้วยระบบดาวเทียม GNSS ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
References
Musa, T., Residual Analysis of Atmospheric Delay in Low Latitude Region Using Network-Based GPS Positioning. Ph.D. Thesis, The University of New South Wales, Australia, 2007
Teeratat, B. Ch. – Chalermchon, S. - Hung-Kyu, L. - Yoon-Soo, Ch.: Performance of Network-Based RTK GPS in Low Latitude Region: A Case Study in Thailand, Engineering Journal, Vol. 16 Issue 5, pp.95-103, 2012. Available from: DOI:10.4186/ej.2012.16.5.95. [Accessed 21 October 2024].
Pi, X., Mannucci, A. J., Lindqwister, U. J., & Ho, C. M. Monitoring of global ionospheric irregularities using the Worldwide GPS Network. Geophysical Research Letters, 1997, 24(18), 2283-2286. Available from: https://doi.org/10.1029/97GL02273 [Accessed 21 October 2024].
Liu, J.Y.; Shih-An, W. Global observations of ROTI by using ground-based GNSS receivers. TAO Terr. Atmos. Ocean. Sci. 2021, 32,5. Available from: 10.3319/TAO.2021.07.26.03 [Accessed 21 October 2024].
Jaimun, S., et al., Variations of total electron content in Thailand during January 2009 – December 2012, 2013, Available from: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1166 [Accessed 21 October 2024].
Abdullah, M.; Bahari S. A. & Yatim, B. (2008). TEC determination over single GPS receiver station using PPP technique, International Symposium on GPS/GNSS 2008, November 11-14,2008 Tokyo.
Misra, P. a. P. E. Global Positioning System (GPS): Signals, Measurements, 2012.
Seemala, G.K.; Valladares, C.E. Statistics of total electron content depletions observed over the South American continent for the year 2008. Radio Sci. 2011. Available from: https://doi.org/10.1029/2011RS004722 [Accessed 21 October 2024].
Vankadara, R. K., Panda, S. K., Amory-Mazaudier, C., Fleury, R., Devanaboyina, V.R., Pant, T. K., et al. Signatures of equatorial plasma bubbles and ionospheric scintillations from magnetometer and GNSS observations in the Indian longitudes during the space weather events of early September 2017. Remote Sens., 2022 14 (3), 652. Available from: https://doi.org/10.3390/rs14030652 [Accessed 21 October 2024].
Liu, X., Yuan, Y., Tan, B., & Li, M. Observational Analysis of Variation Characteristics of GPS-Based TEC Fluctuation over China. ISPRS International Journal of Geo-Information, 2016, 5, 237. Available from: https://doi.org/10.3390/ijgi5120237 [Accessed 21 October 2024].
D. A. De Vaus, Survey in Social Research 5th Edition (New South Wales: Allen and Unwin), 2002.