การวิเคราะห์อนุกรมเวลาและความเร็วของตำแหน่งสถานีฐานอ้างอิงแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร โดยใช้เทคนิคการหาตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวความละเอียดถูกต้องสูงในประเทศไทย

Main Article Content

ยงยุทธ กิมาวะหา
ชัยยุทธ เจริญผล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของสถานี CORS ในประเทศไทยจากการวิเคราะห์ข้อมูลอนุกรมเวลา ความเร็ว และทิศทางของตำแหน่งพิกัดที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา รวมถึงศึกษาผลกระทบจากอัตราการเคลื่อนตัวของตำแหน่งสถานี CORS ต่อการปิดบรรจบของโครงข่ายสามเหลี่ยมสถานี CORS ในระยะยาว โดยทำการประมวลผลข้อมูลรังวัดสัญญาณดาวเทียม GPS ของสถานีฐานอ้างอิงแบบรับสัญญาณต่อเนื่องถาวร (Continuously Operating Reference Station : CORS) จากโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562-พ.ศ. 2566 ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 5 ปี ด้วยเทคนิคการหาตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวความละเอียดถูกต้องสูง (Precise Point Positioning : PPP) โดยอาศัยซอฟต์แวร์เชิงวิจัย GipsyX ผลการวิจัยพบว่า สถานี CORS ในประเทศไทยมีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องไปในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่มุมอะซิมัทเฉลี่ย 106° 29' 42.4" และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 29 มม./ปี โดยมีแนวโน้มอัตราการเปลี่ยนแปลงที่สูงสุดในแนวแกน E รองลงมาคือ N และ U ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาจากค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดในช่วงระยะเวลาอีก 30 ปี นับจาก Epoch 2024.0 การเคลื่อนตัวของตำแหน่งสถานี CORS จะส่งผลกระทบต่อการปิดบรรจบเฉลี่ยของโครงข่ายสามเหลี่ยมสถานี CORS ในบริเวณพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเทียบกับเกณฑ์ความถูกต้องของลำดับชั้นงานสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมที่หน่วยงาน FGCS กำหนด อยู่ในลำดับชั้นงาน A คิดเป็น 59.47% ของพื้นที่ ชั้นงาน AA คิดเป็น 25.95% และส่งผลกระทบอยู่ในลำดับชั้นงาน B คิดเป็น 10.40% ของพื้นที่ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเคลื่อนตัวของตำแหน่งสถานี CORS ในประเทศไทยมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอและทิศทางที่สอดคล้องกัน และยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อค่าความคลาดเคลื่อนในการเข้าบรรจบที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา อีกทั้งยังสะท้อนถึงการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกในบริเวณนั้นด้วย ดังนั้นหากไม่นำปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้มาพิจารณาในการวิเคราะห์ข้อมูลอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีความคลาดเคลื่อนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Matthews, K. J., Maloney, K. T., Zahirovic, S., Williams, S. E., Seton, M., & Müller, R. D. (2016). Global plate boundary evolution and kinematics since the late Paleozoic. Global and Planetary Change, 146, 226-250. Available from: https://doi.org/10.1016/j.gloplacha.2016.10.002 [Accessed 5 June 2024].

กรกฎ บุตรวงษ์. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบการแปลงพื้นหลักฐานระหว่างกรอบพิกัดอ้างอิงสากล ITRF2005 และ ITRF2008 ในประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. กรุงเทพมหานคร. Available from: http://doi.org/ 10.58837/CHULA.THE.2020.1152 [Accessed 8 June 2024].

Rizos, C., & Satirapod, C. (2011). Contribution of GNSS CORS infrastructure to the mission of modern geodesy and status of GNSS CORS in Thailand. Engineering Journal; Vol 15, No 1 (2011): Geo-Informatics; 25-42, 15. Available from: https://doi.org/10.4186/ej.2011.15.1.25 [Accessed 21 August 2024].

Jagoda, M. (2021). Determination of Motion Parameters of Selected Major Tectonic Plates Based on GNSS Station Positions and Velocities in the ITRF2014. Basel, 21(16). Available from: https://doi.org/10.3390/ s21165342 [Accessed 9 June 2024].

Alim Sikder, M. A., Wu, F., & Zhao, Y. (2018). Displacement Monitoring of CORS Reference Stations Using GNSS Precise Point Positioning in Bangladesh 2018 14th IEEE International Conference on Signal Processing (ICSP), Beijing, China, 12-16 August 2018, pp. 1060-1064.

Tran Dinh, T., Nguyen, D. H., Vu, N. Q., & Nguyen, Q. l. (2023). Crustal displacement in Vietnam using CORS data during 2018 - 2021. Earth Sciences Research Journal, 27(1), 27-36. Available from: https://doi.org/10.15446/ esrj.v27n1.102630 [Accessed 9 July 2024].

Kouba, J., Lahaye, F., & Tétreault, P. (2017). Precise Point Positioning. In P. J. G. Teunissen & O. Montenbruck (Eds.), Springer Handbook of Global Navigation Satellite Systems (pp. 723-751). Springer International Publishing. Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-319-42928-1_25 [Accessed 9 June 2024].

กองเทคโนโลยีทำแผนที่. แนวทางการรังวัดโดยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network). กรมที่ดิน, กระทรวงมหาดไทย, กันยายน, 2563.

Charoenkalunyuta, T., Satirapod, C., Keitniyomrung, V., & Yomwan, P. (2019). Performance of Network-Based RTK GNSS for the Cadastral Survey in Thailand. International Journal of Geoinformatics, 15(3), 13–19. Available from: https://journals.sfu.ca/ijg/index.php/journal/article/view/1847 [Accessed 10 June 2024].

Teunissen, P., & Montenbruck, O. (2017). Springer Handbook of Global Navigation Satellite Systems. Springer International Publishing. Available from: https://doi.org/https://doi.org/10.1007/978-3-319-42928-1 [Accessed 27 June 2024].