การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่องรักบางรัก วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม ประจำปีการศึกษา 2556

ผู้แต่ง

  • ปทิตตา ปิยสุกลเสวี สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน, การจัดการเรียนรู้, วิชาประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ และ 3) ศึกษาผลผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ห้องเรียนกลับด้าน” กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนหน่วย ชุมชนของเรา วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ สีลม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จานวน 91 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 46 คนและกลุ่มควบคุม 45 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักบางรัก แบบทดสอบ แบบวัดความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดย ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติทดสอบ t-test (Independent) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ปกครองกับเกณฑ์ 3.50 (อยู่ในระดับมาก) ด้วยสถิติทดสอบ t-test (One sample t-test) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (gif.latex?\bar{X}= 8.33, S.D. = .77) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (gif.latex?\bar{X}= 6.00, S.D.=1.35) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=10.102**, Sig=0.000) 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านของผู้เรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.81, S.D.=.14) สูงกว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบรรยายของผู้เรียนลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.47, S.D.=.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=8.46**, Sig=0.000) และ 3) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.13, S.D.=.64) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 (t=6.64**, Sig=0.000) สาหรับข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ควรจัดทางานวิจัยเพื่อผลักดันนโยบายให้จัดการการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ “ห้องเรียนกลับด้าน” เพื่อเพิ่มคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างของผู้เรียน และปรับเปลี่ยนการเรียนของผู้เรียน ที่สามารถปลดปล่อยพลังสมอง เพิ่มพูนความรู้ให้ลุ่มลึกกว้างขวางขึ้น โดยมุ่งมั่นและคาดหวังให้เกิดทักษะชีวิต ทักษะการดารงชีวิต รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น เรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียน

References

สฤษดิ์วงศ์. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี

หนังสือพิมพ์แนวหน้า. (2556). “นายกสภาผู้ปกครองและครู พร้อมหนุน“จาตุรนต์”เดินหน้า การศึกษา”. สืบค้นวันที่ 3 กรกฎาคม 2556. จาก http://www.ryt9. Com/ s/nnd/
1684456.

Bryan Goodwin and Kirsten Miller. (2013). “Evidence on Flipped Classrooms Is Still Coming In”. Retrieved March 3, 2013, from http://www.ascd.org/
Publications/educational-leadership/mar13/vol70/num06/Evidence-on-Flipped-Classrooms-Is-Still-Coming-In.aspx)

Cynthia J. Brame. (2012). “CFT Assistant Director”. Retrieved March 3, 2013, from http:2012 //cft.vanderbilt.edu/teaching-guides/teaching-activities/flipping-
the-classroom/

Susan Kessler, M. ED. (2011) Retrieved March, 2013, from https://sited.google.com/teaching-guides/theory-flipped-classroom

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-23