การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • สุธิดา นาคดี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
  • ทศพร แสงสว่าง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อหาความก้าวหน้าทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้การสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนผ่องสุวรรณวิทยา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลอง แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลอง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า การสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา (อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลอง มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 80.67/80.11 ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียน พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละเท่ากับ 12.13 และมีค่า S.D. เท่ากับ 1.76 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.03 มีค่า S.D. เท่ากับ 1.27 มีค่า t-testระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 30.47 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาสถิติที่ระดับ0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาบาฮาซา(อินโดนีเซีย) ด้วยสถานการณ์จำลองหลังการสอนมีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากับ 3.91 อยู่ในระดับมาก

References

กนก จันทร์ทอง. (2544). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วารสารวิทยบริการ. สานักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2548). “การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน”. (เอกสารการสอนชุดวิชา.เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1-5). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทศพร แสงสว่าง. (2556). การฝึกทักษะทางภาษาบาฮาซา. (เอกสารประกอบการอบรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม).ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เนตรนภิส สาราญทรัพย์สิน. (2542). การเปรียบเทียบผลของการใช้สถานการณ์จาลองกับการใช้เทคนิคแม่แบบที่มีต่อการปฏิบัติกับเพื่อนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านธรรมรัตน์ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เนาวะรัตน์ ถาวร. (2546). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุหลาบวัฒนา กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

ปรีดี ประทุมมา. (2541). การศึกษาเทคนิคการนำเสนอและเนื้อหาในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทยสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญศรี ประทุมรุ่ง. (2542). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองและการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อมารยาทในการรับประทานอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล. (2541). การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.

มูฮามัดสุกรีมะยา. (2546). ผลของการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและวิธีการเสริมแรงที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษามลายู ของนักเรียนระดับชั้นมุตาวัซซีเตาะฮ์ปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2539). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียสาหรับฝึกอบรมครู-อาจารย์และนักฝึกอบรม เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยะสาส์น.

วันชัย ฉลวยเจริญวงศ์. (2538). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ความคงทนและความชอบจากการนาเสนอแบบส่วนย่อย และการนำเสนอแบบทั้งกรอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วิชุดา รัตนเพียร. (2542). “การเรียนการสอนผ่านเว็บ : ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย”. วารสารครุศาสตร์. 27 (3), 29 – 35.

วรกร นิปกากร. (2556). ภาษาบาฮาซา เมอลายู. กรุงเทพมหานคร : บุ๊คไทม์.

ศุภมาศ เพชรสมบัติ. (2540). ผลของการใช้สถานการณ์จำลองควบคู่กับการเสริมแรงที่มีต่อพฤติกรรมประชาธิปไตยด้านคารวะธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหันทราย จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอ็กซ์เพรส มีเดีย.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคา และ อรทัย มูลคา. (2551). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.

ไสว ฟักขาว. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.

เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์. (2545). หลักการและแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

อนันต์ มนต์สันเทียะ. (2546). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบสถานการณ์จำลอง เรื่องอุบัติเหตุวิชาจราจร สำหรับนักเรียนพลตำรวจ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อับโดรอสัก มะลาเฮง. (2555). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษามลายูยาวี ชั้นประถมศึกษาปีที่1 โดยใช้ชุดฝึกอ่าน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อำนวย เดชชัยศรี . (2544). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของคุรุสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29