การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ บุญมา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
  • ทศพร แสงสว่าง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย, การอ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อหาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดบางพูน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบก่อนเรียนและหลัง เรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่ม ตัวอย่างไม่อิสระ (t-test for dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า การเรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 82.67/81.56 ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.20 และมีค่า S.D. เท่ากับ 3.34 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.47 มีค่า S.D. เท่ากับ 1.77 มีค่า t-test ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 29.71 ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิชาภาษาไทย หลังเรียนด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว.

เกียรติศักดิ์ วจีศิริ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบนำ ตนเองบนเว็บเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักเรียนระดับ ประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ขจรชัย พิชเยนทรโยธิน. (2542). ชุดการเรียนการสอนการสร้างโฮมเพจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2544). ตำราการอ่านให้เก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : กระดาษสา.

ทศพร แสงสว่าง, นิคม ทาแดง และทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2545). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการเขียนรายงาน และการใช้ห้องสมุด เรื่อง หนังสืออ้างอิง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิทธิราช ชื่นชม. (2548). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้จากบทเรียนบนเครือข่ายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบสุริยะจักรวาล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีรูปแบบการเรียน
ต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุภางค์ แจ้งสูงเนิน. (2549). ผลของการเรียนด้วยบทเรียนเครือข่ายเรื่องเส้นตรง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Merritt, Robert L. ( 1983) . Achievement with and without Computer-Assisted Instruction in the Middle School. Dissertation Abstract International 44.
34-A-35A.

Splittgerber, Fred L. (1979). Computer-Based Instruction : A Revolution in the Making. Educational Technology 19(1), 20-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-29